วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การทำน้ำยาอเนกประสงค์ชีวภาพอัญชัน

การทำน้ำยาอเนกประสงค์ชีวภาพอัญชัน
ใช้ซักผ้า-ล้างจาน-อาบ-ล้างหน้าวันก่อนน้ำยาซักผ้าหมดพอดี จึงได้ทำใหม่ สูตรนี้เราทำแบบพอเพียงคือค่าใช้จ่ายน้อย ไม่เกิน 100 บาท ทำได้ประมาณ 8-10 ลิตรสามารถนำไปใช้ล้างจาน ซักผ้า ล้างหน้า หรืออาบน้ำ ได้ ประหยัดได้หลายทาง แต่ขอบอกก่อนว่าสูตรนี้ไม่มีกลิ่นน้ำหอมเนื่องจากเราเน้นเรื่องความพอเพียง
และหลีกเลี่ยงสารเคมีที่ไม่จำเป็น ลองคำนวณการลดค่าใช้จ่ายดูเช่น

1. ไม่ต้องจ่ายค่าน้ำยาล้างจาน
2. ไม่ต้องจ่ายค่าสบู่อาบน้ำ (ใช้แล้วผิวนุ่มกว่าใช้สบู่)
3. ลดการจ่ายค่าน้ำยาซักผ้าเดือนละ 300 บาท เหลือเพียง 100 บาท
ได้น้ำยาประมาณ 12 ลิตร รวมแล้วต่อเดือนเราจะประหยัดเงินได้เกือบ 400 บาทเชียวนะ
ส่วนผสมคือ1. ตัวน้ำยาซักผ้าหรือซักล้างใช้สาร N 70 ราคากิโลกรัมละ 70-80 บาท
2. เกลือเพื่อใช้ปรับความหนืดความข้น ความเหลวของน้ำยาประมาณ 1 ก.ก. (12 บาท)

3. น้ำชีวภาพอัญชันที่เราหมักได้จากการแนะนำคราวที่แล้ว สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรีย และให้สีสวย โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารกันบูด ประมาณ 1 แก้ว (ขวดน้ำผลไม้ 250 มล.) 4. น้ำเปล่า 8-10 ลิตร
ขั้นตอนการทำ1. เตรียมส่วนผสมทั้ง 4 อย่าง
2. เท N 70 ใส่ลงในถังใช้ไม้พายคนเบาๆไปทางเดียวกัน ให้ขึ้นขาวฟู ถ้าหนืดเกินไป รู้สึกหนักมือให้ค่อยๆโรยเกลือลงไป (หรืออาจผสมน้ำเกลือใช้แทนได้)
3. จากนั้นค่อยๆใส่น้ำชีวภาพอัญชันเพื่อให้มีสีสวยงาม
4. ทีนี้ก็ทำสลับกันเรื่อย ถ้าหนืดเหนียวให้เติมเกลือ แล้วเติมน้ำ ถ้าเหลวไปจากการเติมน้ำมากก็เติมเกลือ จะทำให้หนืดข้นเช่นเดิม ทำเช่นนี้ไปเรื่อยจนส่วนผสมที่เตรียมไว้หมด
สุดท้ายตรวจดูความเหลวตรงความพอใจของเรา ทิ้งไว้ 1 คืนอาจทำให้หนืดขึ้นอีกเล็กน้อย ทิ้งไว้ให้ฟองยุบตัว รุ่งเช้าน้ำยาเอนกประสงค์ที่ได้ จะใสและไม่มีฟอง จากนั้นให้เรากรอกใส่ภาชนะที่ต้องการเก็บไว้ใช้ เราจะได้น้ำยาสีสวย สีม่วง-อมชมพู
จากการใช้มาอย่างต่อเนื่อง น้ำยาอเนกประสงค์อัญชันจะมีการเปลี่ยนสีเนื่องจากเราไม่ใส่ผงสีในขั้นตอนการทำ
ดังนั้นสีจึงซีดง่ายกลายเป็นสีขาว
วิธีการแก้ไข : ผู้เขียนเติมหัวเชื้อชีวภาพอัญชันที่หมักไว้ลงไป 1 หยดหรือมากกว่า แล้วแต่ชอบ เขย่าให้เข้ากัน ก็ได้สีสวยดังเดิม

สรุปเปรียบเทียบ - จากการใช้ได้เห็นความแตกต่างคือ
- หากลืมตากผ้าในทันที ทิ้งไว้หลายชั่วโมง ผ้าก็ไม่เหม็นทั้งนี้เนื่องจากน้ำชีวภาพอัญชัน
มีสรรพคุณดับกลิ่น กำจัดแบคทีเรีย/จุลินทรีย์ตัวร้าย
- เมื่อใช้ล้างจาน มือจะไม่ลอกเป็นขุยเหมือนใช้น้ำยาล้างจานตามท้องตลาด เนื่องจากเราไม่ใช้สารขจัดคราบ หากในบางจุดของภาชนะยังมี
ความมันอยู่ ให้เทน้ำยาชีวภาพอัญชันลงไป แล้วล้างเฉพาะที่ ล้างทำความสะอาดอีกครั้ง จะพบว่าขจัดความมันได้ดี

ที่สำคัญคือ เราเกิดความภาคภูมิใจที่เราสามารถนำธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ได้ ไม่ปล่อยให้เป็นขยะ นี่ก็เป็นอีกหนึ่งการทำความดีเพื่อในหลวงค่ะ

การทำน้ำยาซักผ้าขจัดคราบ

ส่วนผสม
1 หัวแชมพู N70 1 กิโลกรัม.
2 โซ ฮาร์ แลป  1500 กรัม
3 โซเดียมคลอไรด์  1 ขีด
4 ลอลาไมย์เอส  500 กรัม
5 เอมอี 100 กรัม
6 เค 30 ละลายน้ำ 10 กรัม
7 ซี บี เอส เอ๊กซ์ 5 กรัม
8 น้ำกลั่น 8-9 ลิตร
9 ยากันบูด 1 ออนซ์
10 น้ำหอม 1 ออนซ์
วิธีทำ นำหัวแชมพู โซ ฮาร์ แลป โซเดียมคลอไรด์ ใส่ภาชนะกวนให้เข้ากันจะออกเป็นสีขาว แล้วเติมลอลาไมย เอส เอ็มอี กวนให้เข้ากันแล้วเติมน้ำ กวนช้าๆขณะเติมน้ำจนหมด ใส่ยากันบูด น้ำหอม หากใช้กันเครื่องซักผ้าให้เติมน้ำยากำจัดฟอง 1 ออนซ์ด้วย

การทำน้ำยาล้างห้องน้ำ

น้ำยาล้างห้องน้ำคิดว่าทุกบ้านคงต้องมีไว้ใช้ เคยคิดมั๊ยครับว่าปีหนึ่งๆ ต้องใช้เงินซื้อน้ำยาล้างห้องน้ำเท่าไหร่
แล้วมีความสุขกับการใช้น้ำยาล้างน้ำหรือเปล่า ไหนจะกลิ่น ไหนจะการกัดกร่อน คงไม่ต้องอธิบายมากนะครับใครที่ใช้อยู่ก็คงรู้ดี

จริงๆ แล้วแค่ในครัวเรือนเราก็สามารถทำน้ำยางล้างห้องน้ำไว้ใช้เองได้ ผมเองไม่ได้ซื้อน้ำยาล้างห้องน้ำมาใช้เป็นเวลาปีกว่าแล้ว
ตอนแรกผมใช้น้ำหมักไล่แมลงที่หมักจากสารเร่ง พด. 7 ของกรมพัฒนาที่ดินก็ใช้ได้ดี ต่อมาได้มะกรูดมาจำนวนหนึ่งเอามาหมักทำน้ำยาล้างห้องน้ำก็ใช้ได้ดียิ่งกว่า

สิ่งที่ต้องเตรียม
1.นำผลไม้รสเปรี้ยว มะกรูด หรือ มะนาว หรือมะเฟือง หรือสับปะรด หรือหลายอย่างรวมกัน 3 กิโลกรัม
2.น้ำตาลแดง 1 กิโลกรัม
3.น้ำ 10 ลิตร
วิธีการทำหมักไว้ 3 เดือน ในภาชนะมีฝาปิดโดยเหลือที่ว่าง 1/4 ของภาชนะ
ก็สามารถนำมาล้างห้องน้ำได้แล้ว ซึ่งผมใช้แบบนี้อยู่



ของผมใช้กากน้ำตาลเลยออกมาเป็นแบบนี้


ยังมีสูตรที่ดีกว่านี้จากหนังสือกสิกรรมธรรมชาติ ฉบับที่ 12/2550 หน้า 5
คือการนำหมักมาผสมกับน้ำขี้เถ้า

ให้ใช้ขี้เถ้า 1 กิโลกรัม น้ำ 5 ลิตร หมัก 15-30 วัน ยิ่งนานยิ่งดี

นำน้ำหมัก 1 ลิตร ผสมกับน้ำขี้เถ้า 20 ลิตร
แค่นี้ก็จะได้น้ำยาล้างห้องน้ำใช้ไปอีกนาน

ข้อดีของน้ำยาล้างห้องน้ำทำเอง
?กลิ่นหอม
?ไม่กัดกร่อน
?มีจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย
?ที่สำคัญประหยัดเงิน
ลองดูนะคะ การล้างห้องน้ำไม่ใช่เรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป
การพึ่งตนเองแบบนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของความพอเพียงแล้วล่ะคะ

การทำน้ำยาจากขี้เถ้า




มนุษย์กับเคมี เป็นสิ่งที่คู่กันมาตั้งแต่เกิด จะเป็นการดีมากที่จะหลีกหนีจากเคมี กลับไปสู่ธรรมชาติอีกครั้ง น้ำยาล้างจานก็เช่นกัน ถึงจะบอกว่าปลอดภัยซักเพียงไหนก็ตาม แต่อย่าลืมว่าก็ยังคงทำจากสารเคมีจึงยังคงมีโอกาสอันตรายจากการสะสมในส่วนต่างๆของร่างกาย 

จากการทำน้ำยาล้างจานนี้อาศัยภูมิปัญญาจากโบราณ แต่มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าสามารถใช้งานได้เทียบเท่าน้ำยาล้างจานชั้นนำ ปราศจากเชื้อโรค ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน ไม่มีฟองทำให้ประหยัดน้ำและล้างออกง่าย
อีกประการหนึ่ง ขี้เถ้ามีอยู่อย่างมากมายในชีวิตประจำวันของชาวอีสานจึงเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย

เตรียมวัสดุ
1.       ขี้เถ้า
2.       น้ำเปล่า
3.       น้ำมะนาวแท้
4.       ผ้ากรอง / ตะแกรงกรองสิ่งสกปรก
5.       กระดาษวัดค่า Ph


ขั้นตอนการทำ
1.       ใช้น้ำ4ส่วน ผสมกับขี้เถ้า 1 ส่วนคนให้เข้ากัน ปิดฝาทิ้งไว้ 3 วัน
2.       ขี้เถ้าจะตกตะกอน ค่อยๆตักน้ำส่วนที่ใส เทใส่ผ้ากรอง
3.       นำน้ำขี้เถ้าที่กรองแล้ว ผสมกับน้ำมะนาว คนให้เข้ากัน ใช้กระดาษวัดค่า PH ให้ได้ค่าเป็น 7 (กระดาษจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง)

การใช้งาน
1.       นำน้ำที่ผสมเสร็จแล้ว ไปล้างจานได้ทันทีโดยไม่ต้องผสมน้ำอีก

การทดสอบ ได้ผ่านการตรวจฆ่าเชื้อโรคโดยทำสอบตามกระบวนการตรวจทางวิทยาศาสตร์เป็นเวลา 7 วัน ปรากฏว่าไม่พบเชื้อโรคใดๆ และยังทำให้ภาชนะที่เป็นอลูมิเนียมหรือสแตนเลส เงางามสดใสได้อีกด้วย

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประวัติและพันธุ์ไม้ไผ่

ไผ่ (Bamboo)


ไม้ไผ่นับว่ามีความสำคัญในพุทธศาสนาอยู่มากเพราะเป็นพระอารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนา เรียกว่า ?เวฬุวนาราม? โดยพระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้ถวาย ต่อมาพระอรหันต์ จำนวน 1,250 รูป ได้มาเฝ้า พระพุทธเจ้าที่พระเจ้าที่พระอารามนี้ เมื่อวันเพ็ญเดือนสาม พระองค์ได้ถือเอาวันนี้เป็นวันประกาศ หลักสามประการของพระพุทธศาสนา เรียกว่า ?โอวาทปาฏิโมก? ชาวพุทธจึงได้ถือว่าวันนี้เป็น วันสำคัญเรียกว่า ?วันมาฆบูชา? สืบเนื่องกันมาตราบเท่าทุกวันนี้

ไม้ไผ่มีอยู่ด้วยกันมากมายหลายชนิด กล่าวกันว่าในโลกนี้มีไม้ไผ่ประมาณ 1,250 ชนิด ส่วนหนึ่งไม้ไผ่จะขึ้น
ได้ดีในประเทศที่มีอากาศร้อน ประเทศไทยและอินเดียก็มีลักษณะทางดินฟ้าอากาศใกล้เคียงกัน ดังนั้น จำนวนและชนิดของไม้ไผ่ในประเทศไทยและอินเดียก็คงไม่แตกต่างกันมากนัก ในประเทศไทย เท่าที่มีผู้สำรวจแล้วปรากฏว่ามีอยู่ด้วยกัน 40 ชนิด ตามทางสัณนิษฐานแล้ว ?เวฬุวนาราม? ควรจะเป็นที่ราบลุ่ม ใช้เป็นทำเลสำหรับสร้างวัด ไม้ไผ่ที่ขึ้นในที่ราบและมีร่มใบพอจะใช้เป็นที่อาศัยได้ ก็มีอยู่ 2 ? 3 ชนิด เช่น ไม้ไผ่ไร่ ซึ่งเป็นไม้ไผ่ลำเล็ก ๆ ขึ้นเป็นกอแน่น ไม่มีหนาม เมื่อถางใต้โคนแล้ว ก็ใช้เป็นที่พักผ่อนได้อย่างสบาย ชนิดต่อไปก็อาจเป็นไม้ไผ่ป่าหรือไผ่หนาม (Bambusa arundinacea willd.) ก็ขึ้นอยู่ในที่ราบเช่นกัน ชอบขึ้นเป็นกอใหญ่ เป็นกลุ่มติดต่อกันไปเป็นบริเวณกว้าง แต่มีข้อเสียอยู่ที่ว่าเป็นไผ่ ที่มีหนามและมีเรียวซึ่งเต็มไปด้วยหนามออกมานอกกอเกะกะไปหมด ไผ่ป่าแต่ละกอล้วนเป็นกอใหญ่ ๆ ถ้าหากจะริดเรียวไผ่ที่โคนออก ก็จะใช้เป็นที่พำนักได้อย่างดี ซ้ำไผ่ป่ายังทำหน้าที่ป้องกันสัตว์อื่น ๆไม่ให้มารบกวน ด้วย ไผ่อีกชนิดหนึ่งซึ่งควรจะสัณนิษฐานว่าเป็นเวฬุวนารามไว้ด้วยก็คือ ไผ่สีสุก (Bambusa flexuosa Munro) ที่คนไทยนิยมปลูกไว้สำหรับใช้ไม้และใช้หน่อสำหรับรับประทาน เป็นไผ่ที่ชอบขึ้นตามที่ราบ มีกอใหญ่และลำยาว สามารถให้ร่มได้ดี แต่การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติของไผ่สีสุกไม่ค่อยดี นอกจากจะมีผู้นำไปปลูกไว้ ส่วนไม้ไผ่อื่น ๆ นั้นก็เป็นไผ่ที่ชอบขึ้นบนลาดเขา ซึ่งไม่ใช่ทำเลที่เหมาะสำหรับสร้างวัดวาอาราม ที่นี้จึงไม่ขอกล่าวถึง

ไผ่ดำ
ประวัติความเป็นมา
เล่าขานกันมาว่า เป็นไผ่มงคลชนิดหนึ่ง เป็นไผ่ที่แปลกอีกชนิดหนึ่ง เป็นไผ่ที่หากยาก การปลูก เวลาต้นแก่ ก็จะปลูกโดยแยกขุดลำให้มีรากติด นำมาแช่น้ำ เพื่อป้องกัน การสูญเสียน้ำ แล้วนำไผ่ใส่ถุงดำ โดยแกบดำล้วน ๆ นำไผ่มาไว้ในในห้องน้ำ หรือในที่ไม่มีแสงจนมากเกินไป ไผ่ก็จะค่อยเจริญเติบโต และออกหน่อ แล้วนำไปปลูกเหมือนไผ่ทั่ว ๆ ไป แต่หลุมความห่าง ความถี่ ไม่ต้องกว้างหรือลึกมากนัก ให้ดูถุงไผ่เป็นหลักในการขุดหลุม ไผ่ดำจะมีลำที่ไม่ใหญ่มากนักจากการสังเกตการปลูกด้วยตนเอง ลักษณะลำต้น ความสูงของไผ่สูงประมาณ 2-4 เมตร ไม่มีหนาม และใบจะมีน้อยมาก แตกกิ่งก้านไม่มาก กิ่งจะเล็ก (แขนง) ลักษณะลำต้น ช่วงลำต้นอ่อน จะมีสีเขียวคล้ายหยก และเมื่อกิ่งแก่ หรือ จะมีสีดำคล้ายสีต้นอ้อย และจะค่อยดำสนิท ประโยชน์ ใช้เป็นไม้ประดับไว้ในบ้าน เป็นไม้มงคลที่หาดูได้ยาก อีกชนิดหนึ่ง



ไผ่ตงลืมแล้ง
เป็นอาหารอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมรับประทานมาแต่โบราณ โดยใช้หน่ออ่อน หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า หน่อไม้ไผ่ตง ซึ่งมีรสหวาน นำไปแกงกับเนื้อไก่ ปลา หรือเนื้อวัว นำไปต้มจืดกระดูกหมู (เมนูนี้นิยมกันมาก) แกงเปรอะ ต้มเป็นผักเคียงใช้จิ้มกับน้ำพริกกะปิ น้ำพริกน้ำปู๋ น้ำพริกแก๋ หรือปรุงอย่างอื่นอีกมากมาย รับประทานอร่อยมาก แต่ไผ่ตงที่พบเห็นและนิยมรับประทานกันเป็นประจำนั้น ส่วนใหญ่แล้ว เปลือกหุ้มหน่ออ่อน หรือ หุ้มหน่อไม้ไผ่ตง จะมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมทั่วทั้งเปลือก ทำให้เวลาจะแกะเปลือกเพื่อเอาเนื้อในไปใช้ ประโยชน์เกิดอาการรำคาญ ผู้ซื้อรับประทานจึงต้องให้ผู้ขายแกะเปลือกให้ แต่ สำหรับ “ไผ่ตงลืมแล้ง” มีลักษณะพิเศษคือ เปลือกหุ้มหน่ออ่อน จะเกลี้ยงไม่มีขนปกคลุมเลย เวลาแกะเอาเนื้อในจึงสะดวกสบายมาก เป็นไผ่ตงที่มีหน่อตลอดปี น้ำท่วมต้นก็ไม่ตายทนแล้งอีกต่างหาก จะแล้งขนาดไหนยังแทงหน่ออ่อนให้เก็บรับประทาน หรือเก็บขายได้ ตลอดปี จึงถูกตั้งชื่อว่า “ไผ่ตงลืมแล้ง” (ปกติฤดูแล้งไผ่ตงจะไม่มีหน่อ) นอก จากนั้น “ไผ่ตงลืมแล้ง” ยังเป็นหน่อไม้ที่มี กรดยูริก ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเกาต์น้อยมาก จึงสามารถรับประทานได้อย่างเต็มที่ และที่สำคัญเนื้อไม้ หรือลำไผ่ของ “ไผ่ตงลืมแล้ง” ยังเป็นไผ่ที่มอดไม่กินอีกด้วย เวลานำไปสร้างบ้านไม้ไผ่ หรือทำเฟอร์นิเจอร์ จึงมีความทนทานได้นานกว่าไม้ไผ่ชนิดใดๆ ไผ่ตงลืมแล้ง เป็นพันธุ์นำเข้าจากประเทศอินโดนีเซียนานกว่า 5 ปีแล้ว อยู่ในวงศ์ GRAMINEAE เป็นไม้ยืนต้นตระกูลหญ้า ต้นสูงได้กว่า 20 เมตร ลำต้นตรง เป็นข้อหรือปล้อง ขนาดของลำต้นใหญ่ เนื้อไม้หนา ยอดอ่อน หรือ หน่ออ่อนมีเปลือกหุ้มสีเขียว ไม่มีขนตามที่กล่าวข้างต้น โผล่เหนือดินเรียกว่า หน่อไม้ ไผ่ตง เนื้อในรสชาติหวานกรอบอร่อยมาก ขนาดของหน่อโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 5-7 กิโลกรัมต่อหัว มีหน่อตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ การปลูก “ไผ่ตงลืมแล้ง” มีลักษณะทนต่อทุกสภาพอากาศ ทนแล้งได้ดี น้ำท่วมไม่ตาย ปลูกได้ในดินทั่วไป และมีหน่อให้เก็บรับประทาน หรือเก็บขายตลอดปี จึงเหมาะที่จะปลูกเป็นพืชครัวและพืชเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง สรรพคุณ ทางสมุนไพรของไผ่ตงทุกชนิด คือ ใบแห้ง ต้มน้ำดื่มขณะอุ่นเป็นยาขับปัสสาวะ ขับและฟอกโลหิตระดูเสียในสตรี แก้มดลูกอักเสบ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ราก ขับปัสสาวะ และ แก้ไตพิการดีมากครับ.



ไผ่ปักกิ่ง (ไผ่จีน)
ประวัติความเป็นมา
เป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศจีน รายละเอียดเชิงวิชาการ ไม่ชัดเจนเพียงศึกษาจากการสังเกตุ การเจริญเติบโต ไผ่จีน ไผ่ปักกิ่ง เรียกชื่อตาม คำบอกเล่าของคนจีนที่นำต้นไผ่เข้าแล้วนำถวายวัดในเขตอำเภอสามชุก จ.สุพรรณบุรี ลักษณะลำต้น ลำต้นสีเหลืองอมเขียว กาบหุ้มลำต้นถี่และหลุดง่าย ส่วนโคนจะมีรากเล็กๆออกมาเป็นระเบียบสวยงาม ไม่ค่อยแตกกิ่ง จะไม่มีหนาม ลำตรงสวยงาม ลำสูงประมาณ 6-10 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 นิ้ว ปล้องห่างประมาณ 8-12 นิ้ว ภายในมีรูเล็กประมาณ เส้นผ่า ศูนย์กลาง 1-2 นิ้ว กลวงตลอดทั้งหน่อ ลักษณะใบ ใบจะใหญ่มากแต่สั้นไม่ยาว โคนใบจะกว้างประมาณ 1.5-2 นิ้ว ไม่แข็งเหมาะสำหรับใช้ในการห่อขนมได้ การปลูก เนื่องจากไผ่ปักกิ่งเป็นไผ่ขนาดใหญ่ ระยะปลูกควรเป็น 5 คูณ 5 เมตร ขุดหลุมให้ได้ขนาด 50 คูณ 50 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตร ไผ่เจริญเติบโตดีมาก โตเร็ว โดยเฉพาะในเมืองไทย อากาศไม่หนาวจัดและให้หน่อดกมากในแต่ละกอรอบก่อไผ่จะให้หน่อประมาณ 8-10 หน่อ ลำไผ่ขึ้นตรงไม่มีหนาม การเกิดหน่อกระจายรอบ ๆ ต้น ห่างประมาณ 4-5 นิ้ว ชอบปุ๋ยคอก การให้น้ำประมาณ 1-2 ปิ๊บ/วัน การตัดหน่อ จะทำการตัดหน่อบริโภค ซึ่งขณะนี้มีจำหน่ายไม่มากนัก ทำการแปรรูป จะนำไปสู่การ ทำหน่อไม้แห้งที่ไม่แข็ง ไม่เหนียว เมื่อจะบริโภคประกอบอาหารก็อ่อนนุ่ม หน่อจะกลวง แต่ความอร่อย ของเนื้อหน่อไม้จะอร่อยกว่า ชิมสด ๆ จะมีขื่นนิดหน่อยเท่านั้น ถ้านำไปต้มหมู แกง หรือหั่นตามยาว ผัดจะอร่อยมาก เนื้อของหน่อจะเป็นเส้นหยาบนิดหน่อย ทำให้เวลาต้มหรือแกงจะดูดซับเข้าเนื้อดี จึงบริโภคอร่อยมาก การใช้ประโยชน์ 1. ลำไผ่จะใช้กับงานเฟอร์นิเจอร์ ได้สวยงามมากเพราะลำไผ่ตรงสีสวย และใช้กับ การก่อสร้าง เช่น โรงเรือนไม้ไผ่ บ้านไม้ไผ่ รั้วไม้ไผ่ และเก้าอี้ไม้ไผ่ 2. ใบมีขนและใหญ่ ไม่เหมาะเป็นอาหารสัตว์ ริมใบจะคม นำมาทำความสะอาดแล้วใช้ห่อขนม เช่น บ๊ะจ่าง ขนมตาล เป็นต้น 3. ซอ หรือโคนไผ่ นำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์สวย โคนไผ่จะให้รูปร่างที่แปลก สวยงาม 4. หน่อไม้ นอกจากบริโภคปกติ แล้วเมื่อมีมากจะทำหน่อไม้แห้งเพราะมีคุณสมบัติ อ่อนนิ่ม สมอย่างยิ่ง ราคาหน่อไม้สดกิโลกรัมละ 50-60 บาท 1 หน่อน้ำหนักประมาณหน่อใหญ่ หนักถึง 5- 7 ก.ก. หน่อเล็กประมาณ 3-4 ก.ก.





ไผ่หม่าจู
ประวัติความเป็นมา
ตามเล่าขาน นำมาจากประเทศจีน เจ้าหน้าที่ดอยอ่างขางไปซื้อมาปลูกที่ดอยอ่างขางตามโครงการฯและได้นำเงินส่วนตัวซื้อมาขยายพันธุ์ ลำต้นจะไม่สูงมาก ประมาณ ๓ เมตร ลักษณะ มีสีเขียวตลอดทั้งลำ แตกกิ่งตั้งแต่โคนต้น จนถึงปลาย ใบจะสั้น หน่อจะมีรถหวาน อร่อยมาก ชอบที่โล่ง ไม่มีร่ม ให้หน่อรอบลำต้น หน่อจะมีสีเขียวสวยงาม สีเขียวเหมือนสีหยกแก่หนักประมาณ ๒ กก. หวานอร่อยดี หอม น่ารับประทาน จะเป็นไผ่ที่ไม่สูงพุ่มสวยงาม ประมาณ ๒ เมตร จะไม่กินพื้นที่ ปลูกเป็นไม้ประดับก็ได้ การให้หน่อจะดก ต้องหมั่นรถน้ำ หน่อจะอยู่ห่างลำต้น เป็นไผ่ที่แปลก อีกอย่างหนึ่งน่ะจะบอกให้ การปลูกก็จะปลูกคล้ายไผ่ปักกิ่ง ใต้หวั่น




ไผ่ทอง
ลักษณะลำต้นเป็นสีเหลืองทอง ใบสีเขียวใบเล็ก ด้านล่างใบเป็นขนนุ่มมือต่างกับไผ่ปักกิ่ง ใช้เป็นไม้ประดับ ให้ความร่มรื่นเป็นไม้มงคล
ไม้ไผ่กับวัฒนธรรม



คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รักธรรมชาติ ยิ้มแย้มแจ่มใสใจดี รักศิลปะ เสียงเพลงและดนตรี มีนิสัยอ่อนโยนอ่อนน้อมถ่อมตนและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดีมีภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่ใกล้มือในท้องถิ่นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือใช้สอยในชีวิตประจำวันได้อย่างสวยงามโดยเฉพาะไม้ไผ่ เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์โดยตรงหรือแปรรูปให้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต คนไทยรู้จักคุ้นเคยและมีความผูกพันอย่างชนิดแยกไม่ออกมาตั้งแต่เกิดจนตาย กลายเป็นวัฒนธรรมสืบทอดกันต่อมา "ไผ่" เป็นชื่อพันธุ์ไม้พวกหนึ่ง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ กล่าวว่า ไผ่เป็นชื่อพรรณไม้พวกหนึ่ง ( Bambusa spp.) อยู่ในวงศ์ Graminese เป็นกอ ลำต้นสูง และเป็นปล้องๆ มีหลายชนิดมากกว่า ๑,๒๕๐ ขนิด ๕๐ ตระกูล เช่น ไผ่จีน ไผ่ป่า ไผ่สีสุก ไผ่เลี้ยง ไผ่ดำ เป็นต้น ไม้ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่มีลักษณะเฉพาะที่แปลกไปจากพืชและพันธุ์ไม้อื่นๆ เพราะแม้ว่าไผ่มีลักษณะที่ควรจะเป็นต้นไม้ แต่ไผ่กลับถูกจัดเป็นหญ้าประเภทหนึ่ง และเป็น "หญ้ายักษ์" เพราะลำต้นสูง กลวงเป็นปล้องๆ หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าใบไผ่คล้ายกับใบหญ้า ไผ่ขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อ เพราะหนึ่งในร้อยปีไผ่จึงอาจจะออกดอกสักครั้ง และหลังจากออกดอกแล้วก็ตาย ไผ่จะเติบโตอย่างรวดเร็วและจะโตเต็มที่ภายในสองเดือน และจะคงขนาดเช่นนั้นไปตลอดชีวิตของมัน ลำต้นของไผ่จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๐.๗ - ๗ นิ้ว สูง ๑ - ๖๐ ฟุต ไผ่ขึ้นได้ทั้งในบริเวณที่มีอากาศอบอุ่นและอากาศเย็นต่ำกว่าศูนย์องศา ไผ่จึงเป็นไม้ที่มีมากในบริเวณเอเซียและแปซิฟิค อเมริกาใต้บางท้องถิ่น

คุณลักษณะพิเศษของ "ไผ่"

๑.ไผ่โตเร็วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ภายในเวลา ๑ - ๔ ปี และใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่รากไผ่เป็นสมุนไพรอย่างหนึ่งที่ใช้เป็นยารักษาโรคได้ หนิอไผ่หรือหน่อไม้ใช้ทำอาหาร กาบหรือใบไผ่ใช้ห่ออาหารหรือหมักปุ๋ย กิ่งและแขนงใช้ทำรั้ว ลำต้นใช้ประโยชน์ได้สารพัดอย่าง ตั้งแต่นำมาใช้ปลูกสร้างที่พักอาศัยและแปรรูปเป็นเครื่องจักสานและเครื่องมือเครื่องใช้นานาชนิดจนถึงนำมาใช้เกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย
คังนั้นชาวนาจึงมักปลูกไผ่ตามหัวไร่ปลายนา และปลูกไว้รอบๆบ้าน เพื่อใช้เป็นรั้วบ้านและป้องกันพายุ เพราะไม้ไผ่จะลู่ตามลมไม่หักโค่นเหมือนไม้อื่น หากปลูกไผ่ไว้ตามริมแม่น้ำลำคลอง จะช่วยชะลอความเร็วของกระแสน้ำไม่ให้ดินพัวทะลายง่าย นอกจากนี้ไผ่ยังใช้เป็นอาหารในครัวเรือนได้ด้วย


เปลสานสำหรับเด็กอ่อน


ขลุ่ยญี่ปุ่น

๒. ไผ่มีลำต้นตรงและกลวงคล้ายหลอดและมีปล้องข้อคั่นเป็นปล้องๆ จึงใช้เป็นภาชนะประเภทกระบอก ถ้วย สำหรับใส่ของเหลว เช่นใช้เป็นกระบอกน้ำ กระบอกน้ำตาล ซึ่งใช้กันทั่วไปในหลายประเทศ ลักษณะพิเศษของไม้ไผ่นี้สามารถนำมาใช้สร้างอาคารที่พักอาศัยได้ โดยนำมาทำเป็นโครงสร้างของบ้านเรือน ใช้เป็นพื้นเรือน ฝาเรือน ใช้ทำรางน้ำ ท่อน้ำ และทำเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ยได้ดีอีกด้วย


ปลอกมีดเขียนลวดลาย



หวี

๓. เนื้อไผ่เป็นเส้นตรงมีความยืดหยุ่นในตัวเองและสามารถคินตัวสู่สภาพเดิมได้ เมื่อนำไม้ไผ่มาแปรรูปก็จะสามารถใช้ประโยชน์ได้ดี เพราะเนื้อไม้ไผ่เป็นเส้นตรง นำมาจักเป็นปื้นบางๆ หรือเหลาเป็นเส้นได้ดี จึงใช้ทำเครื่องจักสานนานาชนิดได้ ทั้งเครื่องจักสานที่มีขนาดใหญ่ แข็งแรงมั่นคง สำหรับใช้งานหนักจนถึงเครื่องจักสานขนาดเล็กที่มีความปราณีตบอบบาง และเพราะคุณสมบัติในที่มีความยืดหยุ่น จึงเหมาะที่จะใช้เป็นเครื่องหาบหรือหาม เช่น คาน คันกระสุน คันธนูและเมื่อแปรรูปเป็นตอกก็ยังมีความยืดหยุ่นคืนรูปทรงเดิมได้ง่ายจึงทำให้ภาชนะจักสานที่ทำจากไผ่มีคุณลักษณะพิเศษต่างไปจากภาชนะที่ทำจากวัตถุดิบชนิดอื่น

๔. ไม้ไผ่มีความสวยงามในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นผิวที่มีสีต่างๆ กันเมื่อแห้งแล้วมักจะมีสีเหลืองอยู่เช่นนั้นตลอดไป ด้วยคุณสมบัติพิเศษนี้ ชาวเอเซียจึงใช้เหล็กหรือโลหะเผาไฟจนร้อนแล้วเขียนตัวอักษรหรือลวดลายลงบนผิวไม้ไผ่ ( Bamboo Pyrographic ) เช่นจีนจารึกบทกวีบนผิวไม้ไผ่ ชาวญี่ปุ่นใช้เขียนชื่อเจ้าของบ้านแขวนไว้หน้าบ้านและจารึกบทกวีแขวนไว้สองข้างประตูเรือนน้ำชา ( Tea House ) ชาวเกาหลีใช้เขียนเป็นลวดลายบนเครื่องใช้ เช่นเดียวกับที่ชาวบาตัก ( Batak) ในประเทศอินโดนีเซีย ใช้เหล็กเผาไฟ ขูด ขีด เขียน ลงบนกระบอกไม้ไผ่ สำหรับเก็บยาหรือทำเป็นปฏิทิน ในขณะที่ชาวบาหลีใช้จารลงบนผิวไผ่เป็นแผ่นๆ เพื่อใช้เป็นคัมภีร์ในศาสนาตน นอกจากไม้ไผ่จะมีผิวสวยแล้ว เนื้อไผ่ยังมีลักษณะพิเศษต่างจากเนื้อไม้อื่นคือ มีเสี้ยนยาวขนานกันเป็นเส้น จึงแปรรูปเป็นเส้น เป็นปื้น หรือเหลาให้กลมได้ง่าย และเมื่อแก่เต็มที่แล้วจะเป็นเส้นละเอียดแข็ง มอดแมลงไม่กินจนมีผู้กล่าวว่า เครื่องจักสานไม้ไผ่นั้น ผู้สานสามารถสานให้เป็นรูปทรงแปลกๆ แตกต่างกันได้มากมาย จนเครื่องจักสานบางชิ้นมีรูปทรงและผิวสวยงามดุจงานประติมากรรมสมัยใหม่ทีเดียว



งานศิลปหัตถกรรมจากไม้ไผ่ของมูลนิธิศิลปาชีพ
ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ





ไม้ไผ่ในชีวิตคนเอเซียและแปซิฟิค

จากคุณลักษณะพิเศษของไม้ไผ่ดังกล่าวคนเอเซียและแปซิฟิกจึงนำไม้ไผ่มาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีรูปแบบและประโยชน์ใช้สอยแตกต่างกันไปตามความนิยมของแต่ละท้องถิ่นแต่ละประเทศต่างกันไป บางชนิดมีคุณค่าทางศิลปะและสุนทรียภาพควบคู่ไปกับประโยชน์ใช้สอย และมีความเกี่ยวเนื่องกับความเชื่อขนบประเพณีของผู้สร้างและผู้ใช้ในแต่ละถิ่นแต่ละประเทศ


ศิลปหัตถกรรมจากไม้ไผ่ของญี่ปุ่น



ชาวจีนเรียกไม้ไผ่ว่า "ชู" (Chu) ไผ่มีความผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวจีนมาแต่อดีต ตั้งแต่ใช้หน่อไม้เป็นอาหาร ใช้ทำตะเกียบ ใช้สร้างที่อยู่อาศัย ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ ใช้เป็นอาวุธและเป็นเครื่องดนตรี ตลอดจนทำไม้เรียว ทำเป็นเชือกเพื่อผูกมัดมนุษย์เข้าด้วยกัน

ชาวญี่ปุ่นเรียกไม้ไผ่ว่า "ทา-เก" (ta-ke) และในประเทศญี่ปุ่นมีไม้ไผ่ชนิดต่างๆถึง ๔๐๐ - ๕๐๐ ชนิด ชาวญี่ปุ่นนำไม้ไผ่มาใช้ประโยชน์มากมายมาแต่สมัยโบราณ กล่าวกันว่าเมื่อสองร้อยปีมาแล้ว ชาวญี่ปุ่นจะจารึกชื่อเจ้าของบ้านไว้บนท่อนไม้ไผ่แขวนไว้หน้าบ้าน บอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นยังนำไม้ไผ่มาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้และงานหัตถกรรมหลายชนิดเป็นชาติหนึ่งในเอเซียที่ใช้ไม้ไผ่ให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง





ที่อยู่อาศัย


เรือนข้าว จ.นราธิวาส

ไม้ไผ่ที่นำมาทำเป็นที่อยู่อาศัย คุณสมบัติพิเศษของไม้ไผ่ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องแปรรูปและแปรรูป และเป็นไม้ที่มีความคงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศได้ดี จึงมีการนำไม้ไผ่มาสร้างเป็นบ้านเรือนที่พักอาศัยกันทั่วไป เช่นเรือนไม้ไผ่ในประเทศไทยที่เรียกว่า "เรือนเครื่องผูก" ที่สร้างด้วยไม้ไผ่แทบทั้งหมด ตั้งแต่ใช้เป็นโครงสร้างและส่วนประกอบของบ้านเรือน ได้แก่ ใช้ลำไม้ไผ่เป็นเสา โครงหลังคา และใช้ไม้ไผ่แปรรูปด้วยการผ่าเป็นซีกๆ เป็นพื้นและสานเป็นแผงใช้เป็นฝาเรือน เป็นต้น

ชาวชนบทที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีนักมักสร้างเครื่องเรือนผูกเป็นที่อยู่อาศัย เพราะสามารถสร้างได้เองโดยใช้ไม้ไผ่และวัสดุที่มีในท้องถิ่นของตนมาประกอบกันเป็นเรือนที่พักอาศัย รูปแบบของเรือนเครื่องผูกจะแตกต่างกันไปตามความนิยมของแต่ละท้องถิ่นโดยทั่วไปจะใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง


บ้านชนบทริมน้ำสร้างด้วยไม้ไผ่


บ้านในชนบทสร้างด้วยไม้ไผ่

การใช้ไม้ไผ่สร้างเป็นที่พักอาศัยนี้มีอยู่ทั่วไปในประเทศที่มีไม้ไผ่ ซึ่งอาจจะใช้ไม้ไผ่เป็นโครงสร้างของบ้านเรือนโดยตรงหรือใช้ประกอบกับวัสดุอื่น เฉพาะประเทศในเอเซียนั้นมีหลายท้องถิ่นที่ใช้ไม้ไผ่สร้างเป็นบ้านเรือน เช่น บ้านของชาวสุราเวสี (Surawesi ) และบ้านเรือนของชาวเกาะต่างๆ ในประทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย นอกจากการใช้ไม้ไผ่สร้างที่อยู่อาศัยแล้วยังใช้ไม้ไผ่สร้างสะพาน ทำเป็นแพหรือลูกบวบเป็นที่พักอาศัยในแม่น้ำลำคลองด้วย และรวมทั้งการนำไม้ไผ่มาทำรั้วบ้าน ทำคอกวัว คอกควาย เล้าเป็ด เล้าไก่ ด้วยว่าไม้ไผ่เป็นสิ่งหาง่ายในท้องถิ่น



เครื่องมือเครื่องใช้

ตะกร้าหิ้วจังหวัดราชบุรี
งานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือนและชีวิตประจำวัน งานไม้ไผ่ประเภทนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับชีวิตมนุษย์มาช้านานและอาจจะเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่ง เฉพาะอย่างยิ่งชาวตะวันออกนั้น มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ไผ่มาแต่โบราณ เช่น ตะเกียบไม้ไผ่ของจีน เป็นเครื่องมือการกินอาหารที่ทำอย่างง่ายๆ แต่ใช้ประโยชน์ได้อย่างดี ก่องข้าวและกระติบสำหรับใส่ข้าวเหนียวของชาวอีสานและชาวเหนือ เป็นตัวอย่างที่ดีซึ่งแสดงให้เห็นความชาญฉลาดในการนำไม้ไผ่มาแปรรูปเป็นภาชนะสำหรับใส่ข้าวเหนียวนึ่งได้ดีเท่าก่องข้าวและกระติบที่สานด้วยตอก
นอกจากนี้ยังใช้ทำเครื่องใช้สอยในครัวเรือน เช่นตะกร้า กระจาด สาแหรก กระบอกเป่าไฟ กระชอน ตะเกียบ ชะลอม ที่เสียบมีด กระบอกเก็บสาก ทัพพี ช้อน ตะหลิว ทำพัด ตับปิ้งปลา ทำฟืน ด้ามเครื่องมืออื่นๆ เครื่องจักสาน ของที่ระลึกเครื่องเขิน ทำโครงร่ม ไม้กวาด ใช้เป็นไม้ค้ำยันในการทำการเกษตร เช่นไม้ค้ำต้นส้ม ค้ำผัก ค้างถั่ว ฯลน ไม้ไผ่ยังใช้เป็นหลักปักกองฟาง ใช้ทำเข่งบรรจุผลไม้ บรรจุใบชา ของป่าต่างๆ ทำหุ่นหรือลูกบวบหนุนเรือนแพล่องไม้ไม่ให้จม บุ้งกี๋ กระพ้อม เสียม เสื่อลำแพน ทำท่อ ทำโต๊ะ เก้าอี้ และเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งภายในบ้าน

ก่องข้าวภาคเหนือ

กระจาดภาคกลาง

ปั้นใส่ใบชาของภาคเหนือ

ก่องข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พัด





เครื่องมือประกอบอาชีพและเครื่องเรือน

ไซ เครื่องมือสำหรับดักปลา ใช้วางดักปลาที่ร่องน้ำไหล
งานไม้ไผ่ที่ใช้ในการประกอบอาชีพ งานไม้ไผ่ประเภทนี้มีใช้กันอย่างกว้างขวาง ในสังคมเกษตรกรรมของชาวเอเซีย เพราะไม้ไผ่เป็นวัสดุที่หาได้ไม่ยากและชาวบ้านสามารถทำใช้สอยได้เอง เฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ดังนั้นเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนาทำไร่จำนวนมากจึงทำมาจากไม้ไผ่ เช่นคราด คานหลาว คานกระบุง กระพ้อม ครุ (ครุหรือแอ่ว ของภาคเหนือใช้สำหรับตีหรือฟาดข้าว ให้เมล็ดข้างหลุดออกจากรวง เป็นเครื่องจักสานไม้ไผ่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด) เลื่อน วี โพง ฯลฯ
นอกจากนี้ยังใช้ทำเครื่องใช้สอยในครัวเรือน เช่นตะกร้า กระจาด สาแหรก กระบอกเป่าไฟ กระชอน ตะเกียบ ชะลอม ที่เสียบมีด กระบอกเก็บสาก ทัพพี ช้อน ตะหลิว ทำพัด ตับปิ้งปลา ทำฟืน ด้ามเครื่องมืออื่นๆ เครื่องจักสาน ของที่ระลึกเครื่องเขิน ทำโครงร่ม ไม้กวาด ใช้เป็นไม้ค้ำยันในการทำการเกษตร เช่นไม้ค้ำต้นส้ม ค้ำผัก ค้างถั่ว ฯลน ไม้ไผ่ยังใช้เป็นหลักปักกองฟาง ใช้ทำเข่งบรรจุผลไม้ บรรจุใบชา ของป่าต่างๆ ทำหุ่นหรือลูกบวบหนุนเรือนแพล่องไม้ไม่ให้จม บุ้งกี๋ กระพ้อม เสียม เสื่อลำแพน ทำท่อ ทำโต๊ะ เก้าอี้ และเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งภายในบ้าน

ครุหรือแอ่ว ของภาคเหนือใช้สำหรับตีหรือฟาดข้าว

คราด ใช้สำหรับกวาดฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง

หลัว สานจากไผ่




งานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นเครื่องเรือนและเครื่องตกแต่ง งานไม้ไผ่ประเภทนี้มีใช้ทั่วไปในหลายประเทศ เช่น ทำเป็นโต๊ะ เก้าอี้ เตียงนอน แม้บางชนิดจะดูเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายๆ ไม่มีราคามากนัก แต่ใช้ประโยชน์ได้ดีเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ เช่น คนไทยใช้ไม้ไผ่ทำแคร่ ทำเปลไว้นอนเล่นในฤดูร้อน เพราะแคร่และเปลไม้ไผ่นั้นโปร่ง อากาศผ่านได้จึงไม่ร้อนกล่าวกันว่า เมื่อครั้งที่พ่อค้าชาวดัชท์ (Datch) เข้ามาค้าขายในตะวันออกไกลครั้งแรก พวกเขารู้สึกประหลาดใจมากที่เห็นคนพื้นเมืองนอนอยุ่บนเตียงไม้ไผ่ที่พื้นเตียงทำด้วยไม้ไผ่เป็นซีกๆ เปิดโล่งให้ลมผ่านได้ เตียงลักษณะนี้จะช่วยคลายร้อนได้มากในคืนที่มีอากาศร้อน เตียงชนิดนี้เป็นที่มาของคำว่า "bamboo princess" ต่อมากลายเป็นคำว่า " Datch wife" เป็นคำที่รู้กันในหมู่ชาวตะวันออก เครื่องเรือนไม้ไผ่นั้นมีความงดงามที่เรียบง่าย แฝงแนวคิดและปรัชญาแบบตะวันออกด้วยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวญี่ปุ่นใช้ไม้ไผ่เป็นเครื่องเรือนและเครื่องตกแต่งบ้านอย่างเห็นคุณค่ามาช้านาน เช่นไม้ไผ่ทำเป็นฝาบ้าน รั้ว ประตูหน้าต่าง มู่ลี่ เป็นต้น



เครื่องดนตรีและอาวุธ


ขลุ่ย
งานไม้ไผ่ที่ทำเป็นเครื่องดนตรี เครื่องดนตรีที่ทำด้วยไม้ไผ่เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่อย่างหนึ่งของชาวเอเซียเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องดนตรีที่ทำจากลำไม้ไผ่อย่างง่ายๆ ประเภท "ขลุ่ย" นั้นมีอยู่หลายประเทศ ได้แก่ ขลุ่ยไทย ขลุ่ยญี่ปุ่น เป็นต้น นอกจากนี้เครื่องดนตรีที่ทำด้วยไม้ไผ่ที่เก่าแก่อีกประเภทหนึ่ง คือเครื่องดนตรีที่ใช้ตีลงบนไม้ไผ่อย่าง "ระนาด" ของไทยนั้นมีอยู่ในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย ซึ่งเรียกว่า "kamelan" เครื่องดนตรีทำจากไม้ไผ่ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ อังกะลุง ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้เสียงกระทบกันของไม้ไผ่ที่มีขนาดต่างกัน ทำให้เกิดเสียงต่างกัน อังกะลุง นับเป็นเครื่องดนตรีที่เกิดจากคุณสมบัติพิเศษของไม้ไผ่อย่างแท้จริง
งานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นอาวุธ งานไม้ไผ่ประเภทนี้ ทำขึ้นจากคุณสมบัติพิเศษของไม้ไผ่ ที่มีเนื้อเป็นเสี้ยนยาวตลอดลำจึงทำให้มีเนื้อเหนียวไม่หักง่ายและมีแรงดีดคืนตัว ชาวเอเซียจึงใช้ไม้ไผ่เป็นคันกระสุน คันธนู และลูกธนู ซึ่งมีทำกันในหลายประเทศ เช่น ธนู ลูกธนูของญี่ปุ่นและเกาหลี เป็นอาวุธที่ทำจากไม้ไผ่ที่ใช้ความประณีตในการคัดเลือกไม้ที่มีคุณภาพและต้องใช้ช่างที่มีฝีมือสูงในการเหลาและตัดไม้ไผ่ให้เป็นคันธนูหรือคันหน้าไม้เพื่อดีดลูกธนูหรือลูกศร

คันธนู
เช่นเดียวกัน อาวุธที่ทำจากไม้ไผ่ของไทยที่ใช้กันแพร่หลายชนิดหนึ่งคือ กระสุน ซึ่งคันกระสุนทำด้วยไม้ไผ่แก่เนื้อดี นำมาเหลาและดัดให้ได้รูปทรงและมีขนาดเหมาะตามความต้องการ กระสุนจะใช้ยิงด้วยกระสุนที่ปั้นด้วยดินเหนียวเป็นลูกกลมขนาดประมาณเท่าหัวแม่มือ กระสุนเป็นอาวุธโบราณอย่างหนึ่งที่ใช้ยิงคนและยิงสัตว์ต่างๆ ที่ใช้กันทั่วไปในขนบท นอกจากนั้นยังนำไม้ไผ่มาทำเป็นอาวุธ จำพวกลูกดอกและลำกล้องเป่าลูกดอก ใช้เป็นไม้กระบอง ไม้ตะพดจนถึงการนำไม้ไผ่มาปาดให้แหลมเป็นปากฉลามที่เรียกว่า "ขวาก" ใช้ดักคนหรือสัตว์ที่รุกล้ำเข้ามาในเขตหวงห้าม เป็นต้น



พิธีกรรมและความเชื่อ


กระด้ง
งานไม้ไผ่ที่ใช้เกี่ยวกับพิธีกรรมและความเชื่อไม้ไผ่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อของชาวเอเซียมาช้านาน โดยเฉพาะชาวจีนและญี่ปุ่นนั้น ไผ่เป็นไม้มงคลและเป็นสัญลักษณ์ของความแหลมและเจริญงอกงามของสติปัญญาดุจเดียวกับความแหลมคมของหนามไผ่ หน่อไผ่และการเติบโตอย่างรวดเร็ว
สำหรับคนไทยนั้น ไม้ไผ่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น คนไทยโบราณมักสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่ เมื่อทารกคลอดออกมาจากครรภ์มารดาวินาทีแรกที่เรียกว่า ตกฟาก นั้นเพราะทารกตกลงบนพื้นเรือนที่ทำด้วยไม้ไผ่ที่สับเป็นซี่ๆ ที่เรียกว่า "ฟาก" นั่นเอง
หลังจากนั้น เมื่อถึงเวลาตัดสายสะดือหมอตำแยก็ใช้ไม้ไผ่มาผ่าเป็นซีก แล้วรนไฟ เพื่อใช้ตัดสายสะดือทารก แทนการใช้เหล็กหรือของมีคมอื่นๆ ความเชื่อนี้มีอยู่ทั่วไปในหลายประเทศในเอเซีย หลังจากตัดสายสะดือแล้วคนไทยจะนำเด็กนอนไว้ใน "กระด้ง" ซึ่งสานด้วยไม้ไผ่คลุมด้วยแหและเพื่อป้องกันผีร้าย สิ่งเหล่านี้เป็นความเชื่อเกี่ยวกับไม้ไผ่ที่มีมาช้านาน เมื่อเกิดอยู่นานร่างกายชราภาพก็ต้องใช้ไม้ไผ่มาทำเป็นไม้เท้า ครั้นถึงเวลาตายก็ต้องนำศพไปวางบนแคร่ไม้ไผ่ เวลาเผาศพ ก็ต้องตัดไม้ไผ่ลำตรงๆ สดๆ สำหรับแทงศพกลับไปกลับมาเพื่อให้ไหม้ให้หมด เรียกไม้ไผ่ชนิดนี้ว่า "ไม้เสียบผี"
ประเพณีค้ำโพธิ์ เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ ในตอนเช้าชาวบ้านจะทำบุญตักบาตร ตอนบ่ายเล่นกีฬา และช่วยกันเอาไม้ไผ่ลำโตๆ มาค้ำกิ่งโพธิ์ตามวัดไม่ให้กิ่งโพธิ์หัก ถือว่าได้บุญแรงและเชื่อกันว่าจะมีอายุยืน ประเพณีแห่บั้งไฟของชาวอีสาน จะนำไม้ไผ่ลำโตๆ ตรงๆ ทั้งลำตกแต่งให้สวยงาม บรรจุดินปืนไว้ในลำไม้ไผ่แห่ไปยังสถานพิธีแล้วจุดแข่งขันกัน บั้งไฟจะพุ่งขี้นสู่ท้องฟ้าเพื่อขอฝน


ขบวนแห่บั้งไฟ

เฉลวปักปากหม้อ
ประเพณีผ้าป่าผีตายของชาวปทุมจะมีการนำไม้ไผ่มาจักสานเป็นหุ่นรูปคนตาย แล้วเอากระดาษสีปิดตกแต่งให้สวยงามยกลงเรือมีกระจาดสานด้วยไม้ไผ่ใส่ส้มสูกลูกไม้ เอากิ่งไผ่มาปักแล้วพาดผ้าบังสุกุลแห่ไปวัดหามไปยังป่าช้านิมนต์พระชักผ้าบังสุกุลและทำพิธีเผาศพ(หุ่น) ตอนกลางคืน เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย
ประเพณีทำขวัญข้าว เมื่อข้าวเริ่มตั้งท้อง ชาวนาจะเอาไม้ไผ่มาสานชะลอมแล้วนำเครื่องแต่งตัวของหญิง เช่นแป้ง น้ำมันใส่ผม น้ำอบไทย หวี กระจกใส่ในชะลอมพร้อมด้วยขนมหวาน ๒ - ๓ อย่าง ส้มเขียวหวาน ส้มโอแกะกลีบ ปักเสาไม้ไผ่แล้วเอาชะลอมแขวนไว้ในนา เพื่อให้แม่พระโพสพแต่งตัวและเสวยสิ่งของนั้น จะได้ออกรวงได้ผลดียาหม้อไทยแผนโบราณ จะใส่หม้อดินเอาใบตองปิดปากหม้อเอาตอกรัดไว้ ทำพิธีลงยันต์เสกเป่า แล้วเอาตอกไม้ไผ่มาขัดไขว้เป็นรูปยันต์ ๕ มุม ปักไว้ที่ปากหม้อ เขาเรียกว่า "เฉลว"


ลักษณะเฉลวแบบหนึ่งที่ใช้ไม้ไผ่สานจักเป็นตอกเส้นบางๆสานตาเหลี่ยมหรือตาชะลอมมัดไว้กับไม้ไผ่ปักให้แน่นในแปลงดำนา หมายถึงการปัดรังควานสิ่งชั่วร้ายที่จะทำให้ข้าวไม่งอกงาม รวมทั้งเป็นเครื่องหมายที่ทำให้เจ้าของนาเป้นศิริมงคลในการประกอบอาชีพ

เมรุนกสักกะไดลิงค์
ประเพณีเอาศพเจ้านายชั้นสูงของภาคอีสาน จังหวัดอุบลราชธานี จะมีเมรุเรือนแก้วบนหลังนกสักกะไดลิงค์ วิธีสร้างเมรุนกสักกะไดลิงค์จะเอาไม้ไผ่มาสานเป็นรูปโครงนกและจะเผาทั้งศพและเมรุนกสักกะไดลิงค์ไปพร้อมๆ กัน
ประเพณีเผาศพพระ ก็ใช้กระบอกไม้ไผ่บรรจุดินปืนเป็นเชื้อเพลิงผูกติดกับลวดสลิงจุดไฟให้เชื้อเพลิงผลักดันเอากระบอกไม้ไผ่วิ่งไปตามเส้นลวดอย่างรวดเร็ว ชนปราสาทโลงศพจำลองที่เรียกว่า "จุดลูกหนู" มีการแข่งขันกันอย่างมโหฬารในงานศพแถวจังหวัดปทุมธานี

ลูกหนูทำด้วยไม้ไผ่ความยาว ๑ ๒ ปล้องตัดเก็บข้อไว้หัวและท้าย เจาะรูบรรจุดินปืน





ยาและอื่น ๆ
ไม้ไผ่ที่ใช้เป็นยารักษาโรค คนไทยใช้รากไผ่ และใบไผ่ผสมกับสมุนไพรบางชนิดใช้เป็นยารักษาโรค
ไม้ไผ่ที่นำมาทำอาหาร คนไทยและชาวเอเซียนำหน่อไม้มาทำเป็นอาหารต่างๆ จนถึงใช้กระบอกไม้ไผ่เป็นภาชนะประกอบอาหาร ได้แก่ ใช้เป็นกระบอกข้าวหลาม เป็นต้น
ไม้ไผ่ที่นำมาใช้ในงานอุตสาหกรรม ไม้ไผ่เป็นวัตถุดิบที่หาได้ไม่ยาก และมีราคาไม่แพง ชาวเอเซียจึงนำไม้ไผ่มาประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นอุตสาหกรรมในครอบครัวประเภทเครื่องจักสาน เครื่องเรือน และเครื่องใช้ต่างๆ จนถึงใช้เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม เช่น ใช้ทำเยื่อกระดาษ ใช้เป็นเครื่องเรือนและเครื่องใช้ที่ผลิตด้วยเครื่องจักร

ข้าวหลาม
ไม้ไผ่เป็นคติสอนใจ เมื่อเจริญเติบโตเป็นกอใหญ่ก็แตกหน่อทวีคูณขึ้นเรื่อยๆลำต้นที่เป็นแม่เปรียบเสมือนหัวแม่มือให้ลูก(หน่อ) แม่จะหาอาหารมาทำนุบำรุงให้เจริญเติบโตแก่ลูกแล้วก็ตายไป แต่ก็ยังมีน้องต่อไปอีก เหมือนนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางและนิ้วก้อย แม่จะมีส่วนเลี้ยงหน่อไม้รวมทั้งลูกคนแรกด้วย จนวาระสุดท้ายที่เรียกว่า "กอไผ่ตายขุยทั้งกอ" เมล็ดไผ่ก็จะงอกเจริญเติบโตเป็นลำไผ่ แตกเป็นกอตามธรรมชาติอีกนับว่า กอไผ่เป็นระบบสังคมที่มีวัฒนธรรมไม่ผิดกับวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
คำพังเพยที่ว่า "ไผ่ลำเดียวไม่เป็นกอ ปอต้นเดียวไม่เป็นป่า " จะเห็นว่าไผ่แต่ละลำของกอไผ่นั้นต่างช่วยเหลือประคับประคองซึ่งกันและกัน โอกาสที่ลมพายุจะพัดให้โค่นล้มนับว่าเป็นไปได้ยาก เนื่องจากมีลำต้นคอยพยุงค้ำจุนและยึดเหนี่ยวกันอยู่ ผิดกับต้นไม้ใหญ่ๆ ที่อยู่โดดเดี่ยวจะถูกลมพายุพัดพาหักโค่นลงได้ง่าย ด้วยเหตุนี้ ครูจึงสอนนักเรียนในเรื่องความสามัคคีว่า แขนงไผ่อันเดียวหักได้ ถ้าเอาแขนงไผ่หลายๆ อันมามัดรวมกันไม่สามารถจะหักออกได้ ครูหลายคนบอกว่าการสั่งสอนอบรมนักเรียนให้เป็นคนดี ขยันหมั่นเพียรอยู่ในระเบียบวินัยต้องอาศัย " ต้นยอ กอไผ่ " หมายความว่า ครูต้องรู้จักชมเชยสรรเสริญเยินยอนักเรียนที่กระทำความดี เพื่อให้เกิดกำลังใจและเป็นตัวแอย่างที่ดีแก่คนอื่นด้วย ถ้านักเรียนคนใดชมก็แล้ว เอาใจก็แล้ว ยังดื้อด้าน เถลไถลออกนอกลู่นอกทางก็ต้องใช้กอไผ่ (เรียวไผ่) เสียบ้างให้หราบจำ เพราะคำโบราณที่ว่า "รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี " ยังมีประโยชน์อยู่


แม้ไผ่จะโตเร็วและปลูกง่ายก็ตามแต่ปริมาณการใช้ไม่สมดุลกับไผ่ที่มีอยู่แล้ว ในอนาคตโลกอาจจะขาดแคลนไม้ไผ่ก็ได้ เฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศไทยซึ่งเคยเป็นแหล่งที่มีไม้ไผ่หลายสกุลหลายชนิด แต่ด้วยการใช้ไผ่อย่างฟุ่มเฟือยและไม่ใคร่เห็นคุณค่า ทุกวันนี้ "ไม้ไผ่" จึงเป็นวัตถุดิบที่เริ่มขาดแคลนแล้ว และหากไม่มีการปลูกชดเชยและใช้ไม้ไผ่อย่างเห็นคุณค่า ประเทศไทยก็อาจจะขาดแคลนไม้ไผ่วัตถุดิบธรรมชาติที่มีความผูกพันกับชีวิตของคนไทยมาช้านานก็เป็นได้ สมควรที่เราคนไทยจะได้มองเห็นคุณค่าของไม้ไผ่ งานไม้ไผ่ ก่อให้เกิดการอนุรักษ์ไผ่และงานไม้ไผ่ให้คงอยู่สืบไป



๑. คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, สำนักงาน. งานไม้ไผ่ในชีวิตคนเอเซียและแปซิฟิค. ม.ป.พ, (๒๕๓๗). ๓๖ หน้า ภาพประกอบ (จัดพิมพ์ประกอบนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในมงคลวโรกาสวันเฉลิมพระชนม์พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๗ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย)

๒. ทองคำ พันนัทธี. "ไม้ไผ่กับชีวิตไทย". วัฒนธรรมไทย. ป.๓๕ ฉ.๑๒ (กันยายน ๒๕๔๑) หน้า ๑๙ - ๒๑.
๓. สนม ครุพเมือง, ผู้รวบรวมและเรียบเรียง. สารานุกรมของใช้พื้นบ้านไทยในอดีตเขตหัวเมืองฝ่ายเหนือ. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ จำกัด. ๒๕๓๑. ๓๑๑ หน้า.

วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วันลอยกระทง

วันออกพรรษา
วันออกพรรษา 2554 ประวัติวันออกพรรษา

วันออกพรรษา 2554 ประวัติวันออกพรรษา วันออกพรรษามีความสำคัญอย่างไร






วันออกพรรษา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11

วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นสำคัญวันหนึ่งของพระภิกษุสงฆ์ คือ เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษา หรือออกจากพรรษาที่ได้อธิฐานเข้าจำพรรษาตลอดระยะเวลา 3 เดือน ในวันออกพรรษาในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า เป็นวันที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มายังโลกมนุษย์ หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จไปจำพรรษา และแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเทพบุตรพุทธมารดา ซึ่งอยู่สวรรค์ชั้นดุสิต แต่ลงมาฟังพระธรรมเทศนาที่ชั้นดาวดึงส์

วันออกพรรษา หมายถึงวันที่พ้นจากข้อกำหนดทางพระวินัยที่ต้องอยู่ประจำที่หรือในวัดแห่งเดียวตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน กล่าวคือ เมื่อพระภิกษุได้อธิษฐานอยู่จำพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 แล้วอยู่ประจำที่หรือวัดนั้นเรื่อยไป จนสิ้นสุดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากวันออกพรรษาแล้วก็สามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้

วันออกพรรษา เรียกว่าอย่างหนึ่งว่า “วันปวารณา” หรือ “วันมหาปวารณา” คือวันที่พระสงฆ์ทำปวารณากรรม คือเปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยเมตตาจิตได้ เมื่อได้เห็นได้ทั้งหรือสงสัยในพฤติกรรมของกันและกัน



วันออกพรรษา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
หลังจากทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเทพบุตรพุทธมารดา

ความสำคัญของวันออกพรรษา

วันออกพรรษา เป็นวันสำคัญของพุทธศาสนา ด้วยเหตุผลดังนี้

1. หลังจากวันออกพรรษาพระสงฆ์ได้รับพระบรมพุทธานุญาตให้จาริกไปค้างแรมที่อื่นได้

2. เมื่อออกพรรษาแล้วพระสงฆ์จะได้นำความรู้จากหลักธรรมและประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างพรรษาไปเผยแผ่แก่ประชาชน

3. ในวันออกพรรษาพระสงฆ์ได้ทำปวารณา เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนเรื่องความประพฤติของตนเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ ความเคารพนับถือและความสามัคคีกัน

4. พุทธศาสนิกชนได้นำแบบอย่างไปทำปวารณาเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าว ตักเตือนตนเองเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาตนและสร้างสรรค์สังคมต่อไป

ประวัติความเป็นมาของวันออกพรรษา


เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี มีพระภิกษุเหล่านั้นเกรงจะเกิดการขัดแย้งกันจนอยู่ไม่สุขตลอดพรรษา จึงได้ตั้งกติกาว่าจะไม่พูดจากัน (มูควัตร) เมื่อถึงวันออกพรรษาพระภิกษุเหล่านั้นก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร กราบทูลเรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ แล้วทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุกระทำการปวารณาต่อกันว่า

“ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้วปวารณากันในสามลักษณะ คือด้วยการเห็นก็ดี ด้วยการได้ยินก็ดี ด้วยการสงสัยก็ดี”

การถือปฏิบัติวันออกพรรษาในประเทศไทย

วันออกพรรษา เป็นวันปวารณาของพระสงฆ์โดยตรง ที่จะต้องประชุมกันทำปวารณากรรมแทนอุโบสถกรรม สำหรับพุทธศาสนิกชนฝ่ายคฤหัสถ์ ก็ถือว่าเป็นวันพระสำคัญ มักนิยมไปทำทานรักษาศีลและฟังธรรมเป็นกรณีพิเศษ

นอกจากนี้ ยังมีประเพณีเนื่องด้วยวันออกพรรษาอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า “ประเพณีตักบาตรเทโว”


วันออกพรรษา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จลงสู่มนุษย์โลก
ทางบันไดพาดลงใกล้เมืองสังกัสสะ

คำว่า “ตักบาตรเทโว” มาจากคำเต็มว่า “ตักบาตรเทโวโรหณะ” คือการตักบาตรเนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทบันทึกไว้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงบยมกปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์เป็นคู่ๆ) ที่ต้นมะม่วงใกล้เมืองสาวัตถีแล้วก็เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่ 7 บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศนาพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดาเป็นเวลา 3 เดือน ครั้นออกพรรษาแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จลงสู่มนุษย์โลกทางบันไดพาดลงใกล้เมืองสังกัสสะ

หลักธรรมที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา

ในเทศกาลออกพรรษา มีหลักธรรมสำคัญที่ควรนำไปปฏิบัติ คือ ปวารณา (การเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนตนเองได้ ในการปวารณานี้อาจแบ่งบุคคลออกเป็น 2 ฝ่าย คือ

1. ผู้ว่ากล่าวตักเตือน จะต้องเป็นผู้มีเมตตา ปรารถนาดีต่อผู้ที่ตนว่ากล่าวตักเตือน เรียกว่ามีเมตตาทางกาย ทางวาจา และทางใจ พร้อมมูล

2. ผู้ถูกว่ากล่าวตักเตือน ต้องมีใจกว้าง มองเห็นความปรารถนาดีของผู้ตักเตือน ดีใจดังมีผู้มาบอกขุมทรัพย์ให้) การปวารณา จึงเป็นคุณธรรมสร้างความสมัครสมานสามัคคีและดำรงความบริสุทธิ์หมดจดไว้ในสังคมพระสงฆ์ การปวารณา แม้จะเป็นสังฆกรรมของสงฆ์ ก็อาจนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมชาวบ้าน เช่น การปวารณากันระหว่างสมาชิกในครอบครัว ในสถานศึกษา ในสถานที่ทำงาน พนักงานในห้างร้าน บริษัทและหน่วยงานราชการ เป็นต้น

วัตถุประสงค์ของกิจกรรมวันออกพรรษา

1. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษารวมทั้งหลักธรรม เรื่อง ปวารณาและแนวทางปฏิบัติ

2. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนมีทักษะในการคิดและการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องในวันออกพรรษา และสามารถเลือกสรรหลักธรรม คือปวารณา ไปใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อพัฒนาตนและสังคม

3. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเกิดเจตคติที่ดีต่อวันออกพรรษา และเห็นคุณค่าของการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมคือ ปวารณา

4. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเกิดศรัทธา ซาบซึ้งและตระหนักถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนา

5. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนได้อย่างถูกต้อง





วันมหาปวารณา เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือน
เรื่องความประพฤติของตนเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาสู่เมืองสังกัสสะนครนั้น พระองค์ทรงเนรมิตให้เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก สามารถมองเห็นซึ่งกันและกันได้ ซึ่งต่อมาเรียกกันว่าเป็น “วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก” วันออกพรรษา ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันมหาปวารณา”เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยเมตตาจิต ปรารถนาดีต่อผู้ถูกตัวเตือน ทั้งกาย วาจา ใจ ส่วนผู้ถูกตักเตือนก็ต้องมีใจกว้าง มองเห็นความปรารถนาดีของผู้กล่าวตักเตือน โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุกระทำการปวารณาต่อกันโดยมีความหมายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้ว ปวารณากันในสามลักษณะคือ ด้วยการเห็นก็ดี ด้วยการได้ยินก็ดี และด้วยการสงสัยก็ดี” ประเพณีของชาวพุทธที่นิยมกระทำในเทศกาลออกพรรษาคือ




ประเพณีตักบาตรเป็นประเพณีที่ปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยครั้งพุทธกาล

1. ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ โดยในหลายที่ยังทำเป็นข้าวต้มลูกโยน มาไว้สำหรับใส่บาตรการตักบาตรเทโวเริ่มมาตั้งแต่ตอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พุทธศาสนิกชนจึงได้พร้อมใจกันนำภัตตาหารมาถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จนั้นมีจำนวนมาก บางพวกที่อยู่ห่างจึงไม่สามารถใส่อาหารลงในบาตรได้ จึงต้องทำข้าวให้เป็นก้อน แล้วโยนใส่บาตร จนกระทั่งเป็นประเพณีนิยมมาจนถึงปัจจุบัน


ตักบาตรเทโว หมายถึง วันทำบุญตักบาตรในเทศกาลวันออกพรรษาตามความเชื่อของพระพุทธศาสนิกชนว่าเป็นวันที่เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์หลังจากเทศนาอภิธรรมปิฎกโปรดพุทธมารดา

“เทโว” ย่อมาจากคำว่า “เทโวโรหนะ” ซึ่งแปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก หมายถึง เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิณาณ แล้วทรงเทศนาโปรดประชาชนในแคว้นต่างๆ ของอินเดียตอนเหนือ ตั้งแต่เมืองราชคฤห์ เมืองพาราณสี เมืองสาวัตถี ตลอดถึงเมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นบิตุภูมิของพระองค์ทรงเทศนาโปรดพระประยูรญาติทั้งหลายถ้วนหน้า แล้วทรงปรารถนาจะสนองคุณพระมารดา ซึ่งหลังจากประสูติพระองค์ได้ 7 วัน ก็สิ้นพระชนม์ และได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต ฉะนั้นในพรรษาที่ 7 หลังจากตรัสรู้พระพุทธองค์จึงเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพุทธมารดาอยู่พรรษาหนึ่ง ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จึงเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาประทับที่เมืองสังกัสสะ ประชาชน พากันไปเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อทำบุญตักบาตรอย่างหนาแน่น บางวัดก็ทำในวันออกพรรษา คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 บางวัดก็ทำในวันรุ่งขึ้น คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ทั้งนี้ แล้วแต่ความตกลงร่วมใจทั้งทางวัดและทางบ้าน พิธีทำนั้นทางวัดอัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานในบุษบก ซึ่งตั้งอยู่บนล้อเลื่อนไปช้าๆ นำหน้าพระสงฆ์ พระภิกษุสามเณรถือบาตรเดินตามไปโดยลำดับ พุทธศาสนิกชนต่างก็นำอาหารมาเรียงรายกันอยู่เป็นแถว ตามแนวทางที่รถบุษบกนั้นจะผ่านเพื่อตักบาตร ของที่นิยมใช้ตักบาตรเทโว ซึ่งนอกจากเป็นข้าวปลาอาหารทั่วๆ ไปแล้วยังมีข้าวต้มมัดใต้และข้าวต้มลูกโยนอีกด้วย

การที่พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปจำพรรษาอยู่เพียงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็เนื่องจากมีพระประสงค์จะให้พระพุทธมารดาได้บรรลุโลกุตรธรรมอันเป็นธรรมชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนาได้

2. ประเพณีทอดกฐิน ถือเป็นกาลทาน ที่เป็นประเพณีสำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง โดยมีระยะเวลา 1 เดือน หลังจากวันออกพรรษาคือวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ไปจนถึงกลางเดือน 12



ประเพณีทอดกฐินมีระยะเวลา 1 เดือน หลังจากวันออกพรรษา

นอกจากประเพณีที่ถือปฏิบัติในวันออกพรรษาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่เป็นที่นิยมและมีผู้สนใจไปร่วมกิจกรรมกันอย่างคับคั่ง คือ การชมบั้งไฟพญานาค ซึ่งเกิดขึ้นเพียงปีละหนึ่งครั้งเท่านั้นคือวันออกพรรษา ซึ่งจะมีพุทธศาสนิกชนไปรอชมบั้งไฟกันทั้งสองฝั่งของแม่น้ำโขงที่จังหวัดหนองคาย โดยเฉพาะอำเภอโพนพิสัยที่มีปริมาณบั้งไฟขึ้นเยอะกว่าที่อื่นๆ
การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันออกพรรษา
กิจกรรมเกี่ยวกับครอบครัวในวันออกพรรษา

1. ในวันออกพรรษา แต่ละครอบครัวก็ช่วย ทำความสะอาดบ้าน ประดับธงชาติและธงธรรมจักร จัดแต่งที่บูชาประจำบ้าน

2. ศึกษาเอกสารและสนทนาเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษา รวมทั้งหลักธรรม การปวารณาและแนวทางปฏิบัติในครอบครัว

3.สมาชิกในครอบครัว ปรึกษา หารือ หาแนวทางในการป้องกันการแก้ปัญหา โดยใช้หลักธรรม คือ ปวารณา

4. วันออกพรรษา นำครอบครัวไปบำเพ็ญกุศล ทำบุญตักบาตร บริจาคทาน

5. ปฏิบัติธรรมที่วัด รักษาศีล ไหว้พระสวดมนต์ ฟังธรรมเจริญภาวนา ในกรณีที่เป็นวันหยุดเนื่องในวันออกพรรษา


กิจกรรมเกี่ยวกับสถานศึกษาในวันออกพรรษา

1.ทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน ประดับธงชาติและธงธรรมจักร จัดแต่งโต๊ะหมู่บูชา

2.ครูและนักเรียนร่วมกันศึกษาถึงความสำคัญของวันออกพรรษา รวมทั้งหลักธรรม เรื่องปวารณาและแนวทางปฏิบัติในสถานศึกษา

3. ครูให้นักเรียนจัดทำป้ายนิเทศ หรือจัดนิทรรศการ ประกวดเรียงความ ทำสมุดภาพ ตอบปัญหาธรรม บรรยายธรรม อภิปรายธรรม

4. ครูให้นักเรียนจัดทำรายงานเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ดีกับพฤติกรรมที่ไม่ดี และวางแผนพัฒนาพฤติกรรมไม่ดีให้น้อยลง

5. ประกาศเกียรติคุณนักเรียนที่ประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดี

6.ครูพานักเรียนไปร่วมกิจกรรมกับชุมชนที่วัด บำเพ็ญกุศลทำบุญตักบาตร บริจาคทาน รักษาศีล ฟังธรรม สนทนาธรรม เจริญภาวนา ในกรณีที่เป็นวันหยุด และกิจกรรมอื่นที่เหมาะสม


ปักธงธรรมจักรหน้าบ้านหรือสถานที่ราชการในวันออกพรรษา
กิจกรรมเกี่ยวกับสถานที่ทำงานในวันออกพรรษา

1. ทำความสะอาดบริเวณที่ทำงาน ประดับธงชาติและธงธรรมจักร จัดแต่งโต๊ะหมู่บูชา

2. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษา รวมทั้งหลักธรรมเรื่อง ปวารณาและแนวทางปฏิบัติในสถานที่ทำงาน

3.จัดให้มีการบรรยายธรรมและสนทนาธรรม

4. ร่วมกันบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ปลูกต้นไม้ บริจาคโลหิต

5. หัวหน้าหน่วยงานให้โอกาสผู้ร่วมงานไปบำเพ็ญกุศลตามประเพณีนิยม ในกรณีที่เป็นวันหยุด

6.จัดทำป้ายนิเทศเกี่ยวกับอุดมการณ์ในการทำงานโดยมีเป้าหมายจะละเว้นการกระทำชั่วในเรื่องใดๆ และกิจกรรมอื่นที่เหมาะสม

กิจกรรมเกี่ยวกับสังคมในวันออกพรรษา

1. วัด สมาคม มูลนิธิ หน่วยงาน องค์กร สื่อมวลชน ประชาสัมพันธ์เรื่องวันออกพรรษาโดยใช้สื่อทุกรูปแบบ

2. จัดพิมพ์เอกสารเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษารวมทั้งหลักธรรมเรื่อง ปวารณา และแนวทางปฏิบัติเพื่อเผยแผ่ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น และตามสถานที่ชุมชน เช่น สนามบิน สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง โรงธรรม ศูนย์การค้า รวมทั้งบนยานพาหนะต่างๆ

3. เชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรม ปฏิบัติธรรม และพิธีกรรมศาสนา เช่น ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม รักษาศีล สวดมนต์

4. รณรงค์ทางสื่อมวลชนต่างๆ ให้ลด ละ เลิก อบายมุข และให้งดจำหน่ายสิ่งเสพติดทุกชนิด

5. ประกาศเกียรติคุณสถาบันหรือบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคม

6. รณรงค์ให้มีการรักษาสภาพแวดล้อม ปลูกต้นไม้ ทำความสะอาดที่สาธารณะ

7. จัดประกวด สวดสรภัญญะ บรรยายธรรม คำขวัญ บทร้อยกรอง บทความเกี่ยวกับวันออกพรรษา และกิจกรรมอื่นที่เหมาะสม

ประโยชน์จะได้รับจากวันออกพรรษา

1. พุทธศาสนิกชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษา รวมทั้งหลักธรรม เรื่องปวารณา และแนวทางปฏิบัติ

2.พุทธศาสนิกชนเกิดเจตคติที่ดีต่อวันออกพรรษา และเห็นคุณค่าของการดำเนินชีวิตตามหลักธรรม คือ ปวารณา

3. พุทธศาสนิกชนเกิดศรัทธา ซาบซึ้ง และตระหนักในความสำคัญของพระพุทธศาสนา

4. พุทธศาสนิกชนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีรู้จักปฏิบัติตนตามหน้าที่ชาวพุทธได้อย่างถูกต้อง

วันพ่อ

วันพ่อแห่งชาติ
ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันพ่อแห่งชาติ

วันพ่อแห่งชาติ 2554



วันพ่อแห่งชาติ 2554

วันพ่อแห่งชาติ


พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หน้า 587) พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายคำว่า “พ่อ” ไว้ดังนี้

พ่อ หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกชายผู้ให้กำเนิดตน
ในทางพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า “พ่อ” หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูกมีใช้หลายคำ เช่น

- บิดา (พ่อ)
- ชนก (ผู้ให้กำเนิด)
- สามี (ผัวของแม่) เป็นต้น

วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย

วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือวันพ่อแห่งชาติ มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์เป็นผู้ถวายการประสูติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการจำเนียรกาลผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่ พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” อันคำว่าโดย “ธรรม” นั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า “ทศพิธราชธรรม” หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า “ราชธรรม 10 ประการ”


พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง

ราชธรรม 10 ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นทรงปฎิบัติโดยเคร่งครัด และส่งผลถึงพสกนิกรทั่วพระราชอาณาจักรนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ ห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น “พ่อ” ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้

“...บ้านเมืองของเราเป็นปึกแผ่นร่มเย็นปกติสุขมาช้านาน เพราะเรามีความยึดมั่นในชาติและต่างร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันทำหน้าที่โดยนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมของชาติเป็นเป้าหมายสำคัญสูงสุด ท่านทั้งหลายในสมาคมนี้ ตลอดจนคนไทยทุกหมู่เหล่า จึงควรทำความเข้าใจในหน้าที่ของตนไว้ให้กระจ่างและนำไปปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ด้วยความไม่ประมาท และด้วยความมีสติ…”

(พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง)
กิจกรรมที่ควรปฎิบัติในวันพ่อแห่งชาตินี้
1. ในวันพ่อแห่งชาติเราควรประดับธงชาติไทยที่อาคารบ้านเรือน

2. จัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญใส่บาตร อุทิศเป็นพระราชกุศล น้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล

3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

ความเป็นมาของวันพ่อแห่งชาติ

วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่มหลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อแห่งชาติ พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น “วันพ่อแห่งชาติ” ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และให้ดอกพุทธรักษาเป็นสัญลักษณ์ วันพ่อแห่งชาติ


ทุกบุปผา มาลัยคือใจราษฎร์ ภักดีบาทองค์บพิตรเป็นนิจสิน
พระ คือ บิดาข้าแผ่นดิน ร่วมร้อยรินมาลัยถวายพระพร
ลุ 5 ธันวามหาราช “วันพ่อแห่งชาติ” คือองค์อดิศร
พระเปี่ยมล้นด้วยเมตตาเอื้ออาทร พสกนิกรเป็นสุขทุกคืนวัน

ด้วยพ่อเป็นบุคคลผู้มีพระคุณ มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพ เทิดทูน และตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อนี่เป็นที่มาของการจัดให้มี วันพ่อแห่งชาติ




วันพ่อแห่งชาติหรือวันเฉลิมพระชนพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

5 ธันวาวันพ่อแห่งชาติ

5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและยังเป็นวันพ่อแห่งชาติ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะพ่อแห่งชาติ อีกทั้งทรงเป็นพ่อตัวอย่างของปวงชนชาวไทย ที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงบำเพ็ญคุณานุประโยชน์แก่ประเทศชาติ และประชาชน ทรงพระมหากรุณาทะนุบำรุงขจัดทุกข์ผดุงสุขพสกนิกรถ้วนหน้า พระองค์ทรงเป็น พ่อแห่งชาติที่อาณาประชาราษฎร์เทิดทูนด้วยความจงรักภักดี สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และยึดมั่นในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการทะนุบำรุงชาติบ้านเมืองให้ วัฒนาถาวรสืบไป ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของวันพ่อแห่งชาติ 4 ประการ คือ

1. เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

2. เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม

3. เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ

4. เพื่อให้ผู้เป็นพ่อ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน



วันพ่อแห่งชาติ ในประเทศไทยตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี

ดอกไม้ประจำวันพ่อแห่งชาติ

วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันพ่อแห่งชาติ กำหนดขึ้นครั้งแรก ในปี 2523 และ กำหนดให้ ดอกพุทธรักษาสีเหลือง เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อแห่งชาติ



ดอกพุทธรักษาสีเหลือง เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อแห่งชาติ

“พุทธรักษา” ซึ่งหมายถึง พระพุทธเจ้าทรงปกป้องคุ้มครอง ให้มีแต่ความสงบสุขร่มเย็น ซึ่งมีเรียกกันมากว่า 200 ปี และสีเหลืองอันเป็นสีประจำวัน พระราชสมภพขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของปวงชนชาวไทย การมอบดอกพุทธรักษาให้กับพ่อ จึงเสมือนกับการบอกถึง ความรักและเคารพบูชาพ่อ ผู้สร้างความสงบสุขร่มเย็นให้แก่ครอบครัว

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยปกป้องคุ้มครอง ไม่ให้มีเหตุร้ายหรืออันตรายเกิดแก่บ้านและผู้อาศัย เ

บทบาทของพ่อ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรุปบทบาทหน้าที่ของพ่อและแม่ไว้ 5 ข้อ

1. กันลูกออกจากความชั่ว

2. ปลูกฝังลูกไว้ในทางที่ดี

3. ให้ลูกได้รับการศึกษาเล่าเรียน

4. ให้ลูกได้แต่งงานกับคนดี

5. มอบทรัพย์มรดกให้เมื่อถึงการณ์อันควร



วันพ่อแห่งชาตินั้นทั่วโลกจะมีการจัดแตกต่างกันไป โดยในประเทศไทยจัดตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี

ในส่วนของพ่อเองก็ต้องตั้งใจฝึกตนเองให้ดี ให้เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกให้ได้ หาเวลามาทำกิจกรรมร่วมกัน จะได้มีเวลาแนะนำอบรมสั่งสอนกันเพื่อครอบครัวจะได้ เป็นครอบครัวอบอุ่น โดยในวันพ่อที่จะถึงนี้ ก็ขออวยพรให้คุณพ่อทุกท่านมีความสุข ดูแลลูกๆ และอยู่กับลูกๆ ไปตราบนานเท่านาน

วันปิยมหาราช

วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม 2554
















องค์พระบรมรูปทรงม้า


คลิกที่ภาพเพื่อขยาย
ในรัชสมัยของพระองค์ สยามประเทศได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สร้างความวัฒนาให้กับชาติเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้า การไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ ฯลฯ ด้วยพระราชกรณียกิจที่ยังความผาสุกให้เกิดแก่ประชาชน และพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คือ การประกาศเลิกทาส ทำให้ปวงชนชาวไทยได้เป็นไทมาจวบจนทุกวันนี้ ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงน้อมใจแสดงความจงรักภักดี ด้วยการถวายพระนามว่า "พระปิยมหาราช" หรือพระพุทธเจ้าหลวง และกำหนดให้ทุกวันที่ 23 ตุลาคม เป็น วันปิยมหาราช

ความเป็นมาของ วันปิยมหาราช
เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 ได้เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความเศร้าโศกให้กับประเทศไทยครั้งใหญ่หลวง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เป็นที่เคารพรักของทวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการ ทั้งในการปกครองบ้านเมือง และพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า

ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทางราชการได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า "วันปิยมหาราช" และกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ

เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยซึ่งต่อมาเป็น "กรุงเทพมหานคร" ร่วมด้วยกระทรวงวัง ซึ่งต่อมาเป็น "สำนักพระราชวัง" ได้จัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์ ตั้งราชวัติฉัตร 5 ชั้น ประดับโคมไฟ ทอดเครื่องราชสักการะที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วันปิยมหาราช ครั้งแรกเกิดขึ้นถัดจากปีที่ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายแล้วเสด็จฯ ไปถวายพวงมาลา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะที่พระบรมราชานุสาวรีย์

พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทรา พระบรมราชินี) เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรลังกาศ" ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "กรมขุนพินิตประชานาถ" บรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2411 ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"

เนื่องจากขณะนั้นมีพระชันษาเพียง 16 ปี ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัยชาญ พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญพระมหาอุปราช

ระหว่างที่สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการอยู่นั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็ทรงใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาเป็นอันมาก เช่น โบราณราชประเพณี รัฐประศาสน์ โบราณคดี ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ วิชาปืนไฟ วิชามวยปล้ำ วิชากระบี่กระบอง และวิชาวิศวกรรม

ในตอนนี้ยังได้เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา 2 ครั้ง เสด็จประพาสอินเดีย 1 ครั้ง การเสด็จประพาสนี้มิใช่เพื่อสำราญพระราชหฤทัย แต่เพื่อทอดพระเนตรแบบแผนการปกครองที่ชาวยุโรปนำมาใช้ปกครองเมืองขึ้นของตน เพื่อจะได้นำมาแก้ไขการปกครองของไทยให้เหมาะสมแก่สมัยยิ่งขึ้น ตลอดจนการแต่งตัว การตัดผม การเข้าเฝ้าในพระราชฐานก็ใช้ยืน และนั่งตามโอกาสสมควร ไม่จำเป็นต้องหมอบคลานเหมือนแต่ก่อน

เมื่อพระชนมายุบรรลุพระราชนิติภาวะ ได้ทรงผนวชเป็นเวลา 2 สัปดาห์ แล้วจึงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 และนับจากนั้นมาก็ทรงพระราชอำนาจเด็ดขาดในการบริหารราชการแผ่นดิน

ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ ทรงปกครองทำนุบำรุงพระราชอาณาจักรให้มั่งคั่งสมบูรณ์ ดัวยรัฐสมบัติ พิทักษ์พสกนิกรให้อยู่เย็นเป็นสุข บำบัดภัยอันตรายทั้งภายในภายนอกประเทศ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ อันก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ ให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ และสามารถธำรงเอกราชไว้ตราบจนทุกวันนี้

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 รวมพระชนมายุได้ 58 พรรษา ครองราชสมบัติมานานถึง 42 ปี

พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบรมรูปทรงม้า ตั้งอยู่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า สร้างขึ้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยนำแบบอย่างมาจากพระบรมรูปของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ที่กรุงปารีส ด้วยฝีมือนายช่างชาวฝรั่งเศส บริษัท ซุซเซอร์ เฟรสฟอร์เดอร์ ในวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอย่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2450

พระองค์เสด็จประทับ ให้ช่างปั้นชื่อ จอร์จ เซาโล ปั้น เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2450 พระบรมรูปสำเร็จเรียบร้อยส่งเข้ามาถึงกรุงเทพฯ เมื่อ วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2451 อันเป็น เวลาพอดีกับงานพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก เนื่องในโอกาสเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ 40 ปี เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระบรมรูปทรงม้าขึ้นประดิษฐานบนแท่นรองหน้าพระราชวังดุสิต โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปทรงทำพิธีเปิดด้วยพระองค์เอง

พระบรมรูปทรงม้าสร้างขึ้นด้วยเงินที่ประชาชนได้เรี่ยไรสมทบทุน ส่วนเงินที่เหลือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้นำไปสร้างมหาวิทยาลัยขึ้น มีนามตามพระปรมาภิไธยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย









สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม 2554
















องค์พระบรมรูปทรงม้า


คลิกที่ภาพเพื่อขยาย
ในรัชสมัยของพระองค์ สยามประเทศได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สร้างความวัฒนาให้กับชาติเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้า การไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ ฯลฯ ด้วยพระราชกรณียกิจที่ยังความผาสุกให้เกิดแก่ประชาชน และพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คือ การประกาศเลิกทาส ทำให้ปวงชนชาวไทยได้เป็นไทมาจวบจนทุกวันนี้ ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงน้อมใจแสดงความจงรักภักดี ด้วยการถวายพระนามว่า "พระปิยมหาราช" หรือพระพุทธเจ้าหลวง และกำหนดให้ทุกวันที่ 23 ตุลาคม เป็น วันปิยมหาราช

ความเป็นมาของ วันปิยมหาราช
เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 ได้เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความเศร้าโศกให้กับประเทศไทยครั้งใหญ่หลวง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เป็นที่เคารพรักของทวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการ ทั้งในการปกครองบ้านเมือง และพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า

ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทางราชการได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า "วันปิยมหาราช" และกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ

เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยซึ่งต่อมาเป็น "กรุงเทพมหานคร" ร่วมด้วยกระทรวงวัง ซึ่งต่อมาเป็น "สำนักพระราชวัง" ได้จัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์ ตั้งราชวัติฉัตร 5 ชั้น ประดับโคมไฟ ทอดเครื่องราชสักการะที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วันปิยมหาราช ครั้งแรกเกิดขึ้นถัดจากปีที่ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายแล้วเสด็จฯ ไปถวายพวงมาลา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะที่พระบรมราชานุสาวรีย์

พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทรา พระบรมราชินี) เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรลังกาศ" ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "กรมขุนพินิตประชานาถ" บรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2411 ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"

เนื่องจากขณะนั้นมีพระชันษาเพียง 16 ปี ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัยชาญ พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญพระมหาอุปราช

ระหว่างที่สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการอยู่นั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็ทรงใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาเป็นอันมาก เช่น โบราณราชประเพณี รัฐประศาสน์ โบราณคดี ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ วิชาปืนไฟ วิชามวยปล้ำ วิชากระบี่กระบอง และวิชาวิศวกรรม

ในตอนนี้ยังได้เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา 2 ครั้ง เสด็จประพาสอินเดีย 1 ครั้ง การเสด็จประพาสนี้มิใช่เพื่อสำราญพระราชหฤทัย แต่เพื่อทอดพระเนตรแบบแผนการปกครองที่ชาวยุโรปนำมาใช้ปกครองเมืองขึ้นของตน เพื่อจะได้นำมาแก้ไขการปกครองของไทยให้เหมาะสมแก่สมัยยิ่งขึ้น ตลอดจนการแต่งตัว การตัดผม การเข้าเฝ้าในพระราชฐานก็ใช้ยืน และนั่งตามโอกาสสมควร ไม่จำเป็นต้องหมอบคลานเหมือนแต่ก่อน

เมื่อพระชนมายุบรรลุพระราชนิติภาวะ ได้ทรงผนวชเป็นเวลา 2 สัปดาห์ แล้วจึงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 และนับจากนั้นมาก็ทรงพระราชอำนาจเด็ดขาดในการบริหารราชการแผ่นดิน

ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ ทรงปกครองทำนุบำรุงพระราชอาณาจักรให้มั่งคั่งสมบูรณ์ ดัวยรัฐสมบัติ พิทักษ์พสกนิกรให้อยู่เย็นเป็นสุข บำบัดภัยอันตรายทั้งภายในภายนอกประเทศ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ อันก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ ให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ และสามารถธำรงเอกราชไว้ตราบจนทุกวันนี้

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 รวมพระชนมายุได้ 58 พรรษา ครองราชสมบัติมานานถึง 42 ปี

พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบรมรูปทรงม้า ตั้งอยู่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า สร้างขึ้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยนำแบบอย่างมาจากพระบรมรูปของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ที่กรุงปารีส ด้วยฝีมือนายช่างชาวฝรั่งเศส บริษัท ซุซเซอร์ เฟรสฟอร์เดอร์ ในวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอย่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2450

พระองค์เสด็จประทับ ให้ช่างปั้นชื่อ จอร์จ เซาโล ปั้น เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2450 พระบรมรูปสำเร็จเรียบร้อยส่งเข้ามาถึงกรุงเทพฯ เมื่อ วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2451 อันเป็น เวลาพอดีกับงานพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก เนื่องในโอกาสเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ 40 ปี เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระบรมรูปทรงม้าขึ้นประดิษฐานบนแท่นรองหน้าพระราชวังดุสิต โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปทรงทำพิธีเปิดด้วยพระองค์เอง

พระบรมรูปทรงม้าสร้างขึ้นด้วยเงินที่ประชาชนได้เรี่ยไรสมทบทุน ส่วนเงินที่เหลือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้นำไปสร้างมหาวิทยาลัยขึ้น มีนามตามพระปรมาภิไธยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

น้ำส้มควันไม้

การทำน้ำส้มควันไม้

น้ำ ส้มควันไม้ เป็นของเหลวสีน้ำตาลใส มีกลิ่นควันไม้ ได้มาจากการควบแน่นของควันที่เกิดจาก การผลิตถ่านไม้ ช่วงที่ไม้กำลังจะเปลี่ยนเป็นถ่านถ่ายเทความร้อนจากปล่องดักควันสู่อากาศ รอบปล่องดักควันความชื้นในควัน จะควบแน่นเป็นหยดน้ำ ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดอะซิติก
มีความเป็นกรดต่ำ มีสีน้ำตาลแกมแดง นำน้ำส้มควันไม้ที่ได้ทิ้งไว้ในภาชนะพลาสติกประมาณ 3 เดือน
ในที่ร่ม ไม่สั่นสะเทือนเพื่อให้น้ำส้มควันไม้ที่ได้ตกตะกอนและแยกตัวเป็น 3 ชั้น คือ น้ำมันเบา (ลอยอยู่ผิวน้ำ)
น้ำส้มไม้ และน้ำมันทาร์ (ตกตะกอนอยู่ด้านล่าง) แยกน้ำส้มควันไม้มาใช้ประโยชน์ต่อไป

วัสดุอุปกรณ์

1. อิฐ 500 ก้อน
2. ถังน้ำมัน 200 ลิตร 2 ถัง
3. ไม้ไผ่ยาว 8 เมตร พร้อมเจาะรู จำนวน 2 ลำ
4. ความกว้าง 1.75 เมตร ยาว 1.15 เมตร สูง 60 ซม.

ประโยชน์น้ำส้ม ควันไม้
น้ำส้มควันไม้มีสารประกอบต่างๆ มากมาย เมื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรจะมีคุณสมบัติ เช่น เป็นสารปรับปรุงดิน สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสารเร่งการเติบโตของพืช นอกจากนี้ มีการนำน้ำส้มควันไม้
ไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม เช่น ใช้ผลิตสารดับกลิ่นตัว ผลิตสารปรับผิวนุ่ม ใช้ผลิตยารักษาโรคผิวหนัง เป็นต้น เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ดังนั้นก่อนที่จะนำไปใช้ควรจะนำมาเจือจางให้เกิดสภาวะที่เหมาะสม

วัตถุประสงค์ของการทำน้ำส้มควันไม้
- เพื่อเป็นการจัดการเศษไม้ ให้เกิดประโยชน์
- ส่งเสริมให้ใช้ถ่านแทนก๊าซหุงต้ม
- แนะนำส่งเสริมน้ำส้มควันไม้เพื่อเป็นผลพลอยได้จากการตัดกิ่งไม้

ด้านครัวเรือน

1. น้ำส้มควันไม้ 100% ใช้รักษาแผลสด
2. น้ำส้มควันไม้ 20 เท่า ทำลายปลวกและมด
3. น้ำส้มควันไม้ 50 เท่า ป้องกับปลวก มด และแมลงต่างๆ
4. น้ำส้มควันไม้ 100 เท่า และ 200 เท่า และลดกลิ่นและแมลง ผสมผงถ่านใช้ย่อยและป้องกันโรคท้องเสีย ปรับปรุงคุณภาพเนื้อสัตว์ให้ใหญ่และแดงเพิ่มปริมาณวิตามิน

ด้านการเกษตร
- ผสมน้ำ 20 เท่า พ่นลงดินทำลายจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์
- ผสมน้ำ 50 เท่า ฆ่าจุลินทรีย์ที่ทำลายพืช
- ผสมน้ำ 200 เท่า ฉีดพ่นใบไม้ขับไล่แมลงและป้องกันเชื้อรา

ด้านอุตสาหกรรม ครัวเรือน
- ใช้ผลิตสารดับกลิ่น, สารปรับผิวนุ่ม, ทำให้เนื้อนิ่ม
- ใช้ย้อมผ้า
- ป้องกันเนื้อไม้จากเชื้อราและแมลง
- เป็นยารักษาโรคผิวหนังเชื้อไทฟอยด์
- เสริมภูมิต้านทานฮอร์โมนทางเพศ
- น้ำส้มควันไม้ที่ผ่านกระบวนการกลั่นแล้วนำไปใช้กระบวนการอาหาร เช่น หยด รม เคลือบหรือเติมแผลสด แผลไฟไหม้ น้ำร้อนรวก บรรเทาอาการเจ็บปวดต่าง ๆ

วีธีการเผา
ใส่ไม้ลงถัง 200 ลิตร ประมาณ 80 ก.ก. โดยเริ่มเก็บน้ำส้มที่อุณหภูมิปากปล่อง 80 องศา และหยุดเก็นที่ 150 องศา โดยอุณหภูมิดังกล่าวจะไม่มีสารก่อมะเล็ง ใช้เวลาเผา 10 ชม. ได้ถ่าน 15 ก.ก ได้น้ำส้มควันไม้ 2 ลิตร

ข้อควรระวังใน การ ใช้น้ำส้มควันไม้
1. ก่อนนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ต้องทิ้งไว้จากการกักเก็บก่อนอย่างน้อย 3 เดือน
2. เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ควรระวังอย่าให้เข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้
3. น้ำส้มควันไม้ไม่ใช่ปุ๋ยแต่เป็นตัวเร่งปฎิกิริยา ดังนั้นการนำไปใช้ทางการเกษตรจะเป็นตัวเสริมประสิทธิภาพให้กับพืชแต่ไม่ สามารถใช้แทนปุ๋ยได้
4. การใช้เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และแมลงในดิน ควรทำก่อนเพาะปลูกอย่างน้อย 10 วัน
5. การนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ต้องผสมน้ำให้เจือจางตามความเหมาะสมที่จะนำไปใช้
6. การฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ เพื่อให้ดอกติดผล ควรพ่นก่อนที่ดอกจะบาน หากฉีดพ่นหลังจากดอกบานแมลงจะไม่เข้ามาผสมเกสร เพราะกลิ่นฉุนของน้ำส้มควันไม้และดอกจะร่วงง่าย

ผลดีที่จะได้ กับดินมีดังนี้
- ความเสียหายที่เกิดจากแมลงและโรคในดินลดลง
- น้ำส้มไม้เพิ่มประสิทธิภาพให้ปุ๋ย โดยทำให้ง่ายต่อการดูดซึมของพืช
- น้ำส้มไม้ลดความเสียหายอันเกิดจากความเค็ม
ควรจะใช้ร่วมกับอย่างอื่น เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ในการปรับคุณภาพของดินในระยะยาว

การทำน้ำส้มควันไม้ให้บริสุทธิ์
น้ำส้มควันไม้ที่ได้จากการดักเก็บจะไม่นำไปใช้ประโยชน์ทันที เนื่องจากการเปลี่ยนจากไม้เป็นถ่านไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกันทั้งเตา ดังนั้นควันที่เกิดขึ้นจึงเป็นควันที่ผสมกันระหว่างควันที่อุณหภูมิต่ำและ สูง ดังนั้นจะมีน้ำมันดิน และสารระเหยง่ายปนออกมาด้วย น้ำมันดินที่ละลายน้ำไม่ได้จะนำไปใช้ประโยชน์ในการเกษตรไม่ได้เพราะจะไปปิด ปากใบของพืช และเกาะติดรากพืชทำให้พืชเติบโตช้าหรือตายได้ นอกจากนั้นหากเทลงพื้นดินจะทำให้ดินแข็งเป็นดาน รากพืชไม่สามารถไชลงดินได้ ดังนั้นเมื่อเก็บน้ำส้มควันไม้แล้วต้องทิ้งช่วงและมีการทำให้น้ำส้มควันไม้ บริสุทธิ์ก่อนนำไปใช้โดย นำถ่านล้างน้ำให้สะอาดตากให้แห้งบดเป็นผง (อัตราส่วนน้ำส้มควันไม้ 100 ลิตร / ผงถ่านบด 5 กก. )กวนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 45 วันสารที่ก่อมะเร็งจะตกอยู่ชั้นกลาง ใส่ภาชนะทิ้งไว้อีก 45 วันให้ตกตะกอนซึ่งก็คือน้ำส้มควันไม้ที่จะนำไปใช้นั้นเอง ส่วนชั้นล่างสุด นั้นเป็นของเหลวข้นสีดำ เราสามารถนำไปกำจัดปลวกได้

การ เก็บรักษาน้ำส้มควันไม้
การเก็บรักษาน้ำส้มควันไม้ต้องเก็บในที่เย็นร่มหรือเก็บไว้ในภาชนะทึบแสงและ ไม่มีสิ่งรบกวน หากเก็บไว้ที่โล่งแจ้งน้ำส้มควันไม้จะทำปฏิกิริยากับอากาศและรังสีอันตรา ไวโอเลต ในแสงอาทิตย์กลายเป็นน้ำมันดินซึ่งในน้ำมันดินก็จะมีสารก่อมะเร็งด้วย และหากนำไปใช้กับพืช น้ำมันจะจับกับใบไม้ ทำให้ต้นไม้ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ดี

น้ำหมักชีวภาพ

วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ

เรียบเรียง ข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก สสส.

          ช่วงนี้เราอาจจะได้ยินชื่อ "น้ำหมักชีวภาพ" บ่อยขึ้น ว่าแต่เพื่อน ๆ รู้จักไหมว่า จริง ๆ แล้ว "น้ำหมักชีวภาพ" คืออะไร บริโภคได้หรือไม่ แล้วเราจะทำน้ำหมักชีวภาพขึ้นมาใช้เองได้อย่างไร เอ้า...ตามมาดูกันเลย

          น้ำหมักชีวภาพ หรือ น้ำสกัดชีวภาพ หรือ ปุ๋ยน้ำจุลินทรีย์ ตามแต่จะเรียก เป็นสารละลายเข้มข้นที่ได้จากการหมักเศษพืช หรือสัตว์ กับสารที่ให้ความหวาน จนถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการแล้วจะได้สารละลายเข้มข้นสีน้ำตาล ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ และสารอินทรีย์หลายชนิด

          เดิมทีนั้นจุดประสงค์ของการคิดค้น "น้ำ หมักชีวภาพ" ขึ้นมา เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตรโดยเฉพาะ แต่ช่วงหลังก็มีการนำน้ำหมักชีวภาพ มาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในด้านอื่นเช่นกัน คือ

           ด้าน การเกษตร น้ำหมักชีวภาพ มีธาตุอาหารสำคัญ ทั้งไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แคลเซียม กำมะถัน ฯลฯ จึงสามารถนำไปเป็นปุ๋ย เร่งอัตราการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น และยังสามารถใช้ไล่แมลงศัตรูพืชได้ด้วย

           ด้าน ปศุสัตว์ สามารถช่วยกำจัดกลิ่นเหม็น น้ำเสียจากฟาร์มสัตว์ได้ ช่วยป้องกันโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนการให้ยาปฏิชีวนะ ทำให้สัตว์แข็งแรง มีความต้านทานโรค ช่วยกำจัดแมลงวัน ฯลฯ

           ด้าน การประมง ช่วยควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำ  ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กบ จระเข้ได้ ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ ช่วยให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมเป็นปุ๋ยหมักใช้กับพืชต่าง ๆ ได้ดี

           ด้าน สิ่งแวดล้อม น้ำหมักชีวภาพ สามารถช่วยบำบัดน้ำเสียจากการเกษตร ปศุสัตว์ การประมง โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชน และสถานประกอบการทั่วไป แถมยังช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากกองขยะ การเลี้ยงสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนต่าง ๆ นอกจากนี้ยังช่วยปรับสภาพอากาศที่เสียให้สดชื่น และมีสภาพดีขึ้น

          ประโยชน์ ในครัวเรือน เราสามารถนำน้ำหมักชีวภาพ มาใช้ในการซักล้างทำความสะอาด แทนสบู่ ผงซักฟอก แชมพู น้ำยาล้างจาน รวมทั้งใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ โถส้วม ท่อระบายน้ำ ฯลฯ ได้ด้วย

          เห็นประโยชน์ใช้สอยของ น้ำหมักชีวภาพ มากมายขนาดนี้ ชักอยากลองทำน้ำหมักชีวภาพดูเองแล้วใช่ไหมล่ะ จริง ๆ แล้ว น้ำหมักชีวภาพ มีหลายสูตรตามแต่ที่ผู้คิดค้นขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยต่าง ๆ กัน วันนี้เราก็มี วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ แบบง่าย ๆ มาฝากกันด้วย

วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ เพื่อการเกษตร

          เราสามารถเลือกส่วนผสมจาก พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ อย่างหอยเชอรี่ ในการทำน้ำหมักชีวภาพ ได้

          ส่วนผสม : เราสามารถเลือกส่วนผสมจาก พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ อย่างหอยเชอรี่ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในการทำน้ำหมักชีวภาพ โดยสับเป็นชิ้นเล็ก 3 ส่วน, กากน้ำตาล 1 ส่วน (อาจใช้น้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลทรายขาว ผสมน้ำมะพร้าว 1 ส่วนแทนได้) น้ำเปล่า 10 ส่วน

          วิธีทำ : นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน แล้วบรรจุลงในถังหมักพลาสติก หรือขวดปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม นานประมาณ 3 เดือน แล้วจึงสามารถนำไปใส่เป็นปุ๋ยให้พืชผักผลไม้ได้ โดย

           ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อบำรุงใบพืชผักผลไม้

           ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตราส่วน 15-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน ให้ดินร่วนซุย

           ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน เพื่อกำจัดวัชพืช

          ทั้ง นี้ มีเทคนิคแนะนำว่า หากต้องการบำรุงส่วนใบพืช ก็ให้ใช้ส่วนใบยอดพืชมาหมัก หากต้องการบำรุงผล ให้ใช้ส่วนผล เช่น กล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก เปลือกสับปะรด ฟักทองมาหมัก หรือหากต้องการใช้กำจัดศัตรูพืข ควรหมักสะเดา ตะไคร้หอม ข่า แยกต่างหากด้วย เมื่อจะใช้ก็นำมาผสมฉีดพ่นพืชผักผลไม้

          นอกจากนี้ หากใช้สายยางดูดเฉพาะน้ำใส ๆ จากน้ำหมักชีวภาพที่หมักได้ 3 เดือนแล้วออกมา จะเรียกส่วนนี้ว่า "หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ" เมื่อนำไปผสม อีกครั้ง แล้วหมักไว้ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพอายุ 5 เดือน ซึ่งหากขยายต่ออายุทุก ๆ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อที่อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ และประสิทธิภาพสูงมากขึ้น

วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ เพื่อการซักล้าง

          น้ำหมักชีวภาพ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการซักล้างได้ โดยมีสูตรให้นำผลไม้ เปลือกผลไม้ (ฝักส้มป่อย , มะคำดีควาย , มะนาว ฯลฯ) 3 ส่วน น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำตาลอ้อย 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน ใส่รวมกันในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท โดยให้เหลือช่องว่างไว้ประมาณ 1 ใน 5 ของขวด/ถัง แล้วหมั่นเปิดฝาคลายแก๊สออก โดยต้องวางไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดด หมักไว้นาน 3 เดือน ก็จะได้น้ำหมักชีวภาพ สำหรับซักผ้า หรือล้างจานได้ ซึ่งสูตรนี้แม้ว่าผ้าจะมีราขึ้น หากนำผ้าไปแช่ทิ้งไว้ในน้ำหมักชีวภาพก็จะสามารถซักออกได้



น้ำหมักชีวภาพ

วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ


วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ เพื่อดับกลิ่น

          สูตรหนึ่งของการทำน้ำหมักชีวภาพมาดับกลิ่น คือ ใช้เศษอาหาร พืชผัก ผลไม้ที่เหลือทิ้ง 3 ส่วน กากน้ำตาลหรือโมลาส 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน  ใส่รวมกันในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท โดยให้เหลือช่องว่างไว้ประมาณ 1 ใน 5 ของขวด/ถัง หมักไว้นาน 3 เดือน ก็จะได้น้ำหมักชีวภาพใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ โถส้วม ท่อระบายน้ำ กลิ่นปัสสาวะสุนัข ฯลฯ ได้อย่างดี

ข้อควร ระวังในการใช้ น้ำหมักชีวภาพ

          1. หากใช้น้ำหมักชีวภาพกับพืช ต้องใช้ปริมาณเจือจาง เพราะหากความเข้มข้นสูงเกินไป อาจทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต และตายได้

           2. ระหว่างหมัก จะเกิดก๊าซต่าง ๆ ในภาชนะ ดังนั้นต้องหมั่นเปิดฝาออก เพื่อระบายแก๊ส แล้วปิดฝากลับให้สนิททันที

           3. หากใช้น้ำประปาในการหมัก ต้องต้มให้สุก เพื่อไล่คลอรีนออกไปก่อน เพราะคลอรีนอาจเป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก

           4. พืชบางชนิด เช่น เปลือกส้ม ไม่เหมาะในการทำน้ำหมักชีวภาพ เพราะน้ำมันที่เคลือบผิวเปลือกส้มเป็นพิษต่อจุลินทรีย์

น้ำหมัก ชีวภาพเพื่อการบริโภค

          เราอาจเคยได้ยินข่าวว่า มีคนนำน้ำหมักชีวภาพมาใช้บริโภคกันด้วย ซึ่งน้ำหมักชีวภาพที่ใช้ในการบริโภค หรือ เอนไซม์ เป็นสารโปรตีน วิตามินเอ บี ซี ดี อี เค อะมิโนแอซิค(Amino acid) และ อะเซทิลโคเอ (Acetyl Coa) ที่ได้จาก หมักผลไม้นานาชนิด เมื่อหมักระยะเริ่มแรกจะเป็นแอลกอฮอล์ ระยะต่อมา เป็นน้ำส้มสายชู ซึ่งมีรสเปรี้ยว อีกระยะหนึ่งเป็นยาธาตุ มีรสขม ก่อนจะได้เป็นน้ำหมักชีวภาพ (เอ็นไซม์) ซึ่งใช้เวลาหมักขยายประมาณ 2 ปี แต่หากจะนำไปดื่มกินควรผ่านการหมักขยายเป็นเวลา 6 ปีขึ้นไป

          โดยประโยชน์จากน้ำหมักชีวภาพนั้น หากมีการนวัตกรรมการผลิตที่ดีจะส่งผลดีต่อสุขภาพของระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ทำให้ภูมิต้านทานโรคดีขึ้น และช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ แต่น้ำหมักชีวภาพ ที่ขายอยู่ตามท้องตลาด มักเป็นน้ำหมักชีวภาพที่อยู่ในสภาพเป็นแอลกอฮอล์ ดังนั้นเมื่อดื่มกินแล้วอาจมีอาการร้อนวูบวาบ มึนงง และอาจทำให้ฟันผุกร่อนได้ เพราะน้ำหมักชีวภาพ (เอนไซม์) มีสภาพเป็นกรดสูง ดังนั้นจึงไม่ควรดื่มน้ำหมักชีวภาพแบบเข้มข้น

          อย่างไรก็ตาม การทำน้ำหมักชีวภาพ ที่ใช้บริโภคนั้น ยังขาดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์รองรับ หากดื่มกินเข้าไปก็เสี่ยงต่ออันตรายได้ โดยเฉพาะมีข้อมูลจาก สวทช. ร่วมกับ อย.ที่ได้เก็บตัวอย่างของผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพที่วางขายตามท้องตลาดมาตรวจ สอบ พบว่า น้ำหมักชีวภาพเหล่านี้ แม้จะไม่มีการปนเปื้อนของโลหะ เศษไม้ เศษดิน แต่พบการปนเปื้อนของเชื้อรา ยีสต์ เมทิลแอลกอฮอล์ เอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งส่งผลต่อระบบประสาทและตา โดยเฉพาะเมทานอล หรือเมธิลแอลกอฮอล์ที่ทำอันตรายต่อร่างกายได้

          ดังนั้นแล้ว เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา รวมทั้งต้องพิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ผลิต แหล่งผลิต และบรรจุภัณฑ์หีบห่อด้วย แต่ถ้าหากจะนำ "น้ำหมักชีวภาพ" มาใช้ในครัวเรือน หรือการเกษตร ลองทำง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ก็จะปลอดภัยและประหยัดที่สุด

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ

วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ (1 กรกฎาคม )

วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ (1 กรกฎาคม )
วัน สถาปนาลูกเสือแห่งชาติ
1 กรกฎาคม ของทุกปี

         พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงสถาปนากิจการลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 จึงได้ยึดถือวันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี วันคล้าย วันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ ซึ่งได้จัดให้มีการเดินสวนสนามของลูกเสือ ณ สนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ เป็นประจำทุกปี ในแต่ละปีจะมีลูกเสือทั้งในส่วนกลางและปริมณฑลมาร่วมเดินสวนสนาม ประมาณ 10,000 คน เพื่อแสดงความเคารพและกล่าวทบทวนคำปฏิญาณ ต่อองค์พระประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติ เพื่อประกาศความเป็นลูกเสืออย่างแท้จริง


ความเป็นมาของลูกเสือ

         ลูกเสือได้กำเนิดครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2450โดยท่านลอร์ดบาเดน เพาเวลล์ กิจการลูกเสือในยุคแรกมีจุดประสงค์เพื่อเตรียมคนไว้เป็นทหาร หลายประเทศที่ไม่มีพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร จึงได้จัดให้มีลูกเสืออย่างประเทศอังกฤษบ้าง หลังจากนั้นไม่นานกิจการลูกเสือก็ได้แพร่หลายเข้าไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา
         ในปี พ.ศ. 2451 ลอร์ด บาเดน เพาเวลล์ ได้แต่งหนังสือคู่มือการฝึกอบรมลูกเสือขึ้นมาเล่มหนึ่ง มีชื่อว่า Scouting For Boys และคำว่า "Scout" จึงใช้เป็นคำเรียกผู้ที่เป็นลูกเสือซึ่งมีความหมายมาจาก
         S ย่อมาจาก Sincerity แปลว่า ความจริงใจ
         C ย่อมาจาก Courtesy แปลว่า ความสุภาพอ่อนโยน
         O ย่อมาจาก Obedience แปลว่า การเชื่อฟัง
         U ย่อมาจาก Unity แปลว่า ความเป็นใจเดียวกัน
         T ย่อมาจาก Thrifty แปลว่า ความประหยัด

         และในปีนี้เอง ได้มีการจัดตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นกองแรกในประเทศอังกฤษ ซึ่งกิจการลูกเสือได้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว จนต่อมาในปี พ.ศ. 2452 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ที่ 1 ทรงรับอุปภัมภก เมื่อประเทศสหรัฐอเมริกาเห็นความสำคัญและประโยชน์ของลูกเสือ จึงได้ก่อตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นประเทศที่ 2


การจัดตั้งลูกตัวในประเทศไทย

         ต่อมาใน พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกองเสือป่าขึ้น เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนได้เข้ารับการอบรม โดยมีจุดประสงค์ที่จะมุ่งอบรมจิตใจให้คนไทยรู้จักรักชาติมีมนุษยธรรม มีความเสียสละ สามัคคี และมีความกตัญญู
         เมื่อกิจการของเสือป่าเจริญก้าวหน้ามั่นคงดีแล้วพระองค์ จึงทรงพระราชดำริว่า ควรจะได้มีการอบรมของเสือป่าด้วย ดังนั้นในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 จึงมีพระบรมราชโองการจัดตั้งลูกเสือขึ้นในประเทศไทยนับเป็นประเทศที่ 3 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา จากนั้นนานาชาติในยุโรปจึงจัดตั้งกองลูกเสือของตนขึ้น ลูกเสือกลายเป็นองค์การสากลและมีความสัมพันธ์กันทั่วโลก เป็นสื่อผูกมิตรไมตรีกันโดยใช้กฎของลูกเสือ 10 ประการ ผูกสัมพันธ์กันไม่เว้นเชื้อชาติใด ศาสนาใดทั้งสิ้น ถือว่าลูกเสือทั่วโลกเป็นพี่น้องกันหมด


ลูกเสือกองแรกของไทย

         ลูกเสือกองแรกของไทยตั้งขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเรียก "ลูกเสือกรุงเทพฯ ที่ 1" ต่อมาขยายตัวออกไปจัดตั้งที่โรงเรียนหรือสถานที่ใดสุดแต่สภากรรมการคณะลูก เสือแห่งงชาติจะเห็นสมควร เด็กที่จะเป็นลูกเสือจะต้องทำพิธีเข้าประจำกอง กล่าวคำปฏิญาณตนตามคำมั่นสัญญานั้น พระองค์ผู้ทรงให้กำเนิดลูกเสือได้พระราชทานคำขวัญไว้ว่า "เสียชีพอย่าเสียสัตย์" ในสมัยนั้นกิจการลูกเสือไทยเลื่องลือไปยังนานาชาติว่า "พระเจ้าแผ่นดินสยามทรงใฝ่พระทัยในกิจการลูกเสือเป็นอย่างยิ่ง" ถึงกับกองลูกเสือที่ 8 ของประเทศอังกฤษ ได้มีหนังสือขอพระราชทานนามนามลูกเสือกองนี้ว่า "กองลูกเสือในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม" พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ตามความประสงค์ ลูกเสือกองนี้ติดเครื่องหมายช้างเผือกที่แขนเสื้อทั้งสองข้างและยังปรากฏ อยู่ตราบเท่าทุกวันนี้
         เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงฟื้นฟูอีก โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติขึ้นครั้งแรกในบริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์ เมื่อ พ.ศ. 2470 จากนั้นได้จัดให้มีการอบรมลูกเสืออีกหลายรุ่นกระทั่งถึงปี พ.ศ.2475 เป็นปีสุดท้ายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว กิจการลูกเสือได้รับการปรับปรุงใหม่ด้วย สมัยนั้นได้ช่วยบำเพ็ญประโยชน์แก่ข้าราชการ ทหาร ในการปราบจราจล รัฐบาลจึงจัดตั้งหน่วยยุวชนทหารฝึกวิชาทหารขึ้นโดยรับเด็กที่ได้เป็นลูกเสือ มาแล้ว ส่วนกิจการลูกเสือก็ขยายให้กว้างขวางขึ้น มีการจัดตั้งกองลูกเสือเหล่าเสนาและลูกเสือเหล่าสมุทรเสนาขึ้นโดยฝึกร่วมกับ ยุวชนทหารการลูกเสือจึงซบเซาลงบ้างในยุคนี้
         ปี พ.ศ. 2490 ทางราชการได้ฟื้นฟูกิจการลูกเสืออีกครั้ง มีการจัดชุมนุมของลูกเสือแห่งชาติ ส่งเจ้าหน้าที่ในกองการลูกเสือไปเข้ารับการฝึกอบรมวิชาลูกเสือตามมาตรฐาน สากล และตามแบบนานาประเทศตามลำดับ มีพระราชบัญญัติลูกเสือใช้บังคับโดยคณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติเป็นผู้บริหาร วัตถุประสงค์ของขบวนการลูกเสือได้รับการปรับปรุงและเน้นให้เห็นชัดเจนรัดกุม ยิ่งขึ้น มีความว่า "คณะลูกเสือแห่งชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจ และศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบสร้างสรรค์สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า เพื่อความสุขและความมั่นคงของประเทศชาติ"


การกำหนดวันสถาปนาลูกเสือแห่ง ชาติ

         แม้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงสวรรคตแล้วก็ ตาม พระราชอนุสรณ์กิจการลูกเสือของพระองค์ท่านได้พัฒนารุ่งเรืองมาตามลำดับจน เป็นกิจการที่สร้างคุณประโยชน์สร้างชื่อเสียงของประเทศให้ขจรขจายเป็นที่ รู้จักของนานาประเทศทั่วโลก และเพื่อเป็นการระลึกถึงพระองค์ท่าน ทางราชการจึงได้กำหนดวันที่ 1 กรกฎาคมของทุกปีเป็น "วันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ" หรือ "วันลูกเสือ"
[แก้ไข] กิจกรรมในวันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ
ภาพ:Boyscout_1.jpg


กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ

  1. ทำบุญใส่บาตร เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่านผู้ให้กำเนิดลูกเสือแห่งประเทศไทย
  2.  จัดนิทรรศการ เผยแผ่ ประวัติความเป็นมาของลูกเสือและผลงานต่างๆ
  3. ร่วมกิจกรรมต่างๆในวันลูกเสือ เช่น การนำพวงมาลาไปถวายบังคมที่พระบรมรูปฯ สถานพระบรมราชานุสรณ์ หรือที่ที่ทางราชการกำหนด
  4. เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่างๆ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- วิกิพีเดีย
- คลังปัญญาไทย

วันต้านยาเสพติด

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับปัญหายาเสพติด
26 มิถุนายน วันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2554
สรุปกิจกรรมวันต่อต้านยาเสพติด 26 มิถุนายน โหลดสื่อรณรงค์  ที่นี่
13215 Hits
วันต่อต้านยาเสพติด ปี 2554
การจัดกิจกรรมเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติด (26 มิถุนายน) ประจำปี 2554 และเทิดพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา
 5 ธันวาคม 2554
 
คำขวัญรณรงค์ประชาสัมพันธ์ 26 มิถุนายน ประจำปี 2554
 “สานต่อพระราชปณิธาน หยุดยั้งยาเสพติด หยุดหายนะแผ่นดิน”
 
“...ยาเสพติดนี่มันก่อให้เกิดความเดือดร้อน หลายอย่างโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ทั้งราชการตำรวจ โดยโรงพยาบาล โดยคน เอกชนต่าง ๆ เดือดร้อนหมด และสิ้นเปลือง คนทั่วประเทศก็สิ้นเปลือง แทนที่จะมีเงินทอง มีทุนมาสร้างบ้านเมืองให้สบาย ให้เจริญ มัวแต่ต้องมาปราบปรามยาเสพติด มัวแต่ต้องเสียเงิน ค่าดูแลรักษาทั้งผู้เสพยา ผู้เป็นคนเดือดร้อน อย่างนี้ก็เสียทั้งเงินและเสียทั้งชื่อเสียง...”

   พระ ราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
วันที่ 4 ธันวาคม 2545


กำหนดการจัด กิจกรรมวันต่อต้านยาเสพติด
งานแถลงข่าวการจัดกิจกรรมเนื่องในวันต่อ ต้านยาเสพติด (26 มิถุนายน) ประจำปี 2554วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน 2554  เวลา 14.00 น.  ณ ห้องประชุมชิดชัย วรรณสถิตย์ อาคาร 2 ชั้น 3 สำนักงาน ป.ป.ส. (ดินแดง)
images/stories/icon-msg.gif กิจกรรม ภายในงาน
 ภาพงานแถลงข่าว
วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน 2554 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จัด กิจกรรม To be Number One วันที่ 23 มิถุนายน 2554 ณ ฮอล์ล 9 ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี
วัน ศุกร์ที่  24 มิถุนายน 2554 เวลา 10.00 -12.00 น. สำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข “จัดพิธีเผาทำลายยาเสพติดให้โทษของกลาง ครั้งที่ 39” ณ ศูนย์บริหารสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อม นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเป็นยาเสพติดให้โทษของกลาง จำนวน 2,426 กิโลกรัม 130 มิลลิลิตร ของกลางที่มิใช่ยาเสพติดให้โทษ 12 กิโลกรัม 612 กรัม 2,852 เม็ด 17,100 แคปซูล 1 ขวด ยาเสพติดให้โทษประเภทกัญชาจากกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 3418.7 กิโลกรัม
images/stories/icon-msg.gif ราย ละเอียดของข่าว
 ภาพงานเผายาเสพติด 
วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2554 ณ ห้องบุญยะจินดา 1-2 สโมสรตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด จัดกิจกรรม “คนรุ่นใหม่ ใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า ไม่พึงพายาเสพติด”
images/stories/icon-msg.gif ราย ละเอียดของข่าว
 ภาพงานเผายาเสพติด 
วันศุกร์ที่  24 มิถุนายน 2554 เวลา 17.00 -22.00 น.จัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด ร่วมกับ สำนักงาน ป.ป.ส. และ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และภาคประชาชนในพื้นที่จัดมหกรรมคอนเสิร์ต “84 พรรษา เทิดไท้องค์ราชัน ร่วมต่อต้านยาเสพติด” เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 ลานเอนกประสงค์สมบัติบุรี จังหวัดนนทบุรี
อ่าน ข้อมูลเพิ่มเติม...
 ภาพในงานมหกรรมคอนเสิร์ต 
วันที่ 26 มิถุนายน 2554
เวลา 8.00-8.30 น.
การแสดงพระธรรมเทศนา “ตามรอยพ่อหยุดยาเสพติด” เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติด  ทางสถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์
สรุป กิจกรรมวันต่อต้านยาเสพติดในภูมิภาคทั่วประเทศ
  images/stories/icon-msg.gif กิจกรรมวันต่อต้านฯในพื้นที่ ปปส.กทม

images/stories/icon-msg.gif กิจกรรมวันต่อต้านฯในพื้นที่ ปปส.ภาค 1อยุธยา / นนทบุรี
  images/stories/icon-msg.gif กิจกรรมวันต่อต้านฯในพื้นที่ ปปส.ภาค 2จันทบุรี / ชลบุรี / ตราด
  images/stories/icon-msg.gif กิจกรรมวันต่อต้านฯในพื้นที่ ปปส.ภาค 3นครราชสีมา / ชัยภูมิ/ บุรีรัมย์ / สุรินทร์ / ยโสธร / ศรีสะเกษ / อุบลราชธานี / อำนาจเจริญ
  images/stories/icon-msg.gif กิจกรรมวันต่อต้านฯในพื้นที่ ปปส.ภาค 4นครพนม / บึงกาฬ / มหาสารคาม / ร้อยเอ็ด / เลย / หนองคาย / หนองบัวลำภู / อุดรธานี
  images/stories/icon-msg.gif กิจกรรมวันต่อต้านฯในพื้นที่ ปปส.ภาค 5เชียงใหม่ / เชียงราย / น่าน / ลำปาง / พะเยา / ลำพูน / แม่ฮ่องสอน
  images/stories/icon-msg.gif กิจกรรมวันต่อต้านฯในพื้นที่ ปปส.ภาค 6พิษณุโลก / กำแพงเพชร / นครสวรรค์
   สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 6 จัดโครงการสัมมนาการรณรงค์ประชาสัมพันธ์และประกาศเกียรติคุณบุคคลและองค์กร เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2554
  images/stories/icon-msg.gif กิจกรรมวันต่อต้านฯในพื้นที่ ปปส.ภาค 7
เพชรบุรี / นครปฐม / สมุทรสาคร / สุพรรณบุรี / ประจวบคีรีขันธ์ / สมุทรสงคราม / กาญจนบุรี / ราชบุรี
  images/stories/icon-msg.gif กิจกรรมวันต่อต้านฯในพื้นที่ ปปส.ภาค 8สุราษฎร์ธานี / กระบี่ / ระนอง / ชุมพร / นครศรีธรรมราช / ภูเก็ต
  images/stories/icon-msg.gif กิจกรรมวันต่อต้านฯในพื้นที่ ปปส.ภาค 9

นต่อต้านยาเสพติด
ทุกวันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี



ความเป็นมาวันต่อต้านยาเสพติด
         ประเทศไทยได้เผชิญกับปัญหา ยาเสพติด มา เป็นเวลาช้านาน รัฐบาลในแต่ละยุคได้ดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดมาตลอด จนกระทั่งใน พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติภายใต้การนำของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 37 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2501 ให้เลิกการสูบฝิ่นทั่วราชอาณาจักรโดยมีการเผาทำลายฝิ่นและอุปกรณ์การสูบฝิ่น ที่ท้องสนามหลวงในคืนวันที่ 30 มิถุนายน 2502 หลังจากนั้นปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลได้จัดตั้ง “คณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ” ใช้ชื่อย่อว่า ปปส. สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยมีอธิบดีกรมตำรวจเป็นประธาน และมีผู้แทนจากทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ
        ต่อ มาในสมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีรัฐบาลได้เล็งเห็นว่า การปราบปรามยาเสพติดไม่สามารถแก้ไขได้โดยการดำเนินการเฉพาะกรมตำรวจฝ่าย เดียว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ต่อสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2519
        ตั้งแต่ นั้นเป็นต้นมาการแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทยก็ได้ดำเนินไปอย่างมีแบบแผน และเป็นระบบที่ดีขึ้น พระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือเรียกชื่อย่อว่า ป.ป.ส. โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และจัดตั้งสำนักงาน ป.ป.ส. ขึ้นเป็นหน่วยงานกลางรับผิดชอบโดยตรง มีฐานะเป็นกรม กรมหนึ่งในสำนักนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันสำนักกระทรวงยุติธรรม ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพ ติดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
         ผล จากปัญหายาเสพติด ได้ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติทั่วโลก เพื่อเน้นถึงความสำคัญของการต่อสู้กับปัญหาการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบค้ายาเสพติดและเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศทั่วโลกใน การต่อสู้กับปัญหายาเสพติด ที่ประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and llicit Trafficking ICDAIT) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่าง วันที่ 17-26 มิถุนายน 2530 ที่ประชุมได้เสนอเป็นข้อมติต่อสมัชชาใหญ่สหประชาชาติขอให้กำหนดวันที่ 26มิถุนายนของทุกปีเป็นวันต่อต้านยาเสพติดซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบตาม ข้อเสนอดังกล่าวในการประชุมเมื่อ วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2530
        ประเทศไทย  สำนักงาน ป.ป.ส.ใน ฐานะหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดใน ประเทศมาโดยตลอด ได้นำมติเรื่องวันต่อต้านยาเสพติดขององค์การสหประชาชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2531 ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันต่อต้านยาเสพติดโดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531เป็นต้นมา

กิจกรรมวันต่อต้านยาเสพติด
        สำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมกับศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ และศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดกรุงเทพมหานคร จะจัดกิจกรรมรณรงค์พิเศษ "มหกรรมภาคีพลังแผ่นดิน เอาชนะยาเสพติด" ขึ้นโดยระดมพลังครั้งยิ่งใหญ่จากทุกภาคส่วนของสังคม และประชาชนทุกหมู่เหล่าในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ณ บริเวณลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 26 มิถุนายน 2547 ตั้งแต่เวลา 06.30 - 14.00 น. โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธี พิธีในช่วงเช้าเริ่มด้วยการใส่บาตรข้าวสารอาหารแห้ง การกล่าวคำปฏิญาณตนและการแสดงเจตนารมณ์เป็น "พลังแผ่นดิน" ร่วมเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด และการแสดงผลงานของภาคีพลังแผ่นดินที่จะร่วมต่อสู้เอาชนะยาเสพติดอย่างต่อ เนื่องและเป็นไปอย่างยั่งยืน เช่นพลังเยาวชน พลังครอบครัว พลังชมรม To Be Number One พลังผู้ประสานพลังแผ่นดิน พลังลูกเสือชาวบ้าน พลังภาคเอกชนและธุรกิจเอกชน พลังชุมชน เป็นต้น
        โดยในส่วนภูมิภาคจะมีการจัดงานและกิจกรรมรณรงค์พิเศษขึ้นในลักษณะเดียวกัน พร้อมกันทุกพื้นที่ จังหวัด อำเภอ/กิ่งอำเภอ ณ จุดนัดหมายบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด และที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอทุกแห่ง


คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด

 คำ ขวัญวันต่อต้านยาเสพติดของไทย ประจำปี 2554
 “สานต่อพระราชปณิธาน หยุดยั้งยาเสพติด หยุดหายนะแผ่นดิน”


       “...ยาเสพติดนี่มันก่อให้เกิดความเดือดร้อนหลายอย่างโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ทั้งราชการตำรวจ โดยโรงพยาบาล โดยคน เอกชนต่าง ๆ เดือดร้อนหมด และสิ้นเปลือง คนทั่วประเทศก็สิ้นเปลือง แทนที่จะมีเงินทอง มีทุนมาสร้างบ้านเมืองให้สบาย ให้เจริญ มัวแต่ต้องมาปราบปรามยาเสพติด มัวแต่ต้องเสียเงิน ค่าดูแลรักษาทั้งผู้เสพยา ผู้เป็นคนเดือดร้อน อย่างนี้ก็เสียทั้งเงินและเสียทั้งชื่อเสียง...”

   พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
วันที่ 4 ธันวาคม 2545


คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติดสากลในปี พ.ศ. 2550 ถึงปี พ.ศ. 2552   คือ

“Do drugs control your life? Your life. Your community. No place for drugs”
 ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่า
“ยาเสพติดครอบงำชีวิตของคุณอยู่หรือเปล่า ชีวิตของคุณ

คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติดของไทย
คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติดประจำปี 2553
"ไทยเข้มแข็ง ชนะยาเสพติด"
คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติดประจำปี 2552
"ยาเสพติดครอบงำชีวิตของคุณอยู่หรือเปล่า ชีวิตของคุณ"
คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติดประจำปี 2551
"รวมพลังประชาไทย พ้นภัยยาเสพติด"
คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติดประจำปี 2550
"รวมพลังไทย ขจัดภัยยาเสพติด ร่วมเทิดไท้องค์ราชัน"
คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติดประจำปี 2549
“ ๖๐ ปี ทรงครองราชย์  รวมพลังไทยทั้งชาติ  ขจัดยาเสพติด ”
คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติดประจำปี 2548
"พลังไทย ต้านภัยยาเสพติด"

ยะลา / พัทลุง / สงขลา / ปัตตานี / ตรัง / สตูล / นราธิวาส