วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประวัติและพันธุ์ไม้ไผ่

ไผ่ (Bamboo)


ไม้ไผ่นับว่ามีความสำคัญในพุทธศาสนาอยู่มากเพราะเป็นพระอารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนา เรียกว่า ?เวฬุวนาราม? โดยพระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้ถวาย ต่อมาพระอรหันต์ จำนวน 1,250 รูป ได้มาเฝ้า พระพุทธเจ้าที่พระเจ้าที่พระอารามนี้ เมื่อวันเพ็ญเดือนสาม พระองค์ได้ถือเอาวันนี้เป็นวันประกาศ หลักสามประการของพระพุทธศาสนา เรียกว่า ?โอวาทปาฏิโมก? ชาวพุทธจึงได้ถือว่าวันนี้เป็น วันสำคัญเรียกว่า ?วันมาฆบูชา? สืบเนื่องกันมาตราบเท่าทุกวันนี้

ไม้ไผ่มีอยู่ด้วยกันมากมายหลายชนิด กล่าวกันว่าในโลกนี้มีไม้ไผ่ประมาณ 1,250 ชนิด ส่วนหนึ่งไม้ไผ่จะขึ้น
ได้ดีในประเทศที่มีอากาศร้อน ประเทศไทยและอินเดียก็มีลักษณะทางดินฟ้าอากาศใกล้เคียงกัน ดังนั้น จำนวนและชนิดของไม้ไผ่ในประเทศไทยและอินเดียก็คงไม่แตกต่างกันมากนัก ในประเทศไทย เท่าที่มีผู้สำรวจแล้วปรากฏว่ามีอยู่ด้วยกัน 40 ชนิด ตามทางสัณนิษฐานแล้ว ?เวฬุวนาราม? ควรจะเป็นที่ราบลุ่ม ใช้เป็นทำเลสำหรับสร้างวัด ไม้ไผ่ที่ขึ้นในที่ราบและมีร่มใบพอจะใช้เป็นที่อาศัยได้ ก็มีอยู่ 2 ? 3 ชนิด เช่น ไม้ไผ่ไร่ ซึ่งเป็นไม้ไผ่ลำเล็ก ๆ ขึ้นเป็นกอแน่น ไม่มีหนาม เมื่อถางใต้โคนแล้ว ก็ใช้เป็นที่พักผ่อนได้อย่างสบาย ชนิดต่อไปก็อาจเป็นไม้ไผ่ป่าหรือไผ่หนาม (Bambusa arundinacea willd.) ก็ขึ้นอยู่ในที่ราบเช่นกัน ชอบขึ้นเป็นกอใหญ่ เป็นกลุ่มติดต่อกันไปเป็นบริเวณกว้าง แต่มีข้อเสียอยู่ที่ว่าเป็นไผ่ ที่มีหนามและมีเรียวซึ่งเต็มไปด้วยหนามออกมานอกกอเกะกะไปหมด ไผ่ป่าแต่ละกอล้วนเป็นกอใหญ่ ๆ ถ้าหากจะริดเรียวไผ่ที่โคนออก ก็จะใช้เป็นที่พำนักได้อย่างดี ซ้ำไผ่ป่ายังทำหน้าที่ป้องกันสัตว์อื่น ๆไม่ให้มารบกวน ด้วย ไผ่อีกชนิดหนึ่งซึ่งควรจะสัณนิษฐานว่าเป็นเวฬุวนารามไว้ด้วยก็คือ ไผ่สีสุก (Bambusa flexuosa Munro) ที่คนไทยนิยมปลูกไว้สำหรับใช้ไม้และใช้หน่อสำหรับรับประทาน เป็นไผ่ที่ชอบขึ้นตามที่ราบ มีกอใหญ่และลำยาว สามารถให้ร่มได้ดี แต่การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติของไผ่สีสุกไม่ค่อยดี นอกจากจะมีผู้นำไปปลูกไว้ ส่วนไม้ไผ่อื่น ๆ นั้นก็เป็นไผ่ที่ชอบขึ้นบนลาดเขา ซึ่งไม่ใช่ทำเลที่เหมาะสำหรับสร้างวัดวาอาราม ที่นี้จึงไม่ขอกล่าวถึง

ไผ่ดำ
ประวัติความเป็นมา
เล่าขานกันมาว่า เป็นไผ่มงคลชนิดหนึ่ง เป็นไผ่ที่แปลกอีกชนิดหนึ่ง เป็นไผ่ที่หากยาก การปลูก เวลาต้นแก่ ก็จะปลูกโดยแยกขุดลำให้มีรากติด นำมาแช่น้ำ เพื่อป้องกัน การสูญเสียน้ำ แล้วนำไผ่ใส่ถุงดำ โดยแกบดำล้วน ๆ นำไผ่มาไว้ในในห้องน้ำ หรือในที่ไม่มีแสงจนมากเกินไป ไผ่ก็จะค่อยเจริญเติบโต และออกหน่อ แล้วนำไปปลูกเหมือนไผ่ทั่ว ๆ ไป แต่หลุมความห่าง ความถี่ ไม่ต้องกว้างหรือลึกมากนัก ให้ดูถุงไผ่เป็นหลักในการขุดหลุม ไผ่ดำจะมีลำที่ไม่ใหญ่มากนักจากการสังเกตการปลูกด้วยตนเอง ลักษณะลำต้น ความสูงของไผ่สูงประมาณ 2-4 เมตร ไม่มีหนาม และใบจะมีน้อยมาก แตกกิ่งก้านไม่มาก กิ่งจะเล็ก (แขนง) ลักษณะลำต้น ช่วงลำต้นอ่อน จะมีสีเขียวคล้ายหยก และเมื่อกิ่งแก่ หรือ จะมีสีดำคล้ายสีต้นอ้อย และจะค่อยดำสนิท ประโยชน์ ใช้เป็นไม้ประดับไว้ในบ้าน เป็นไม้มงคลที่หาดูได้ยาก อีกชนิดหนึ่ง



ไผ่ตงลืมแล้ง
เป็นอาหารอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมรับประทานมาแต่โบราณ โดยใช้หน่ออ่อน หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า หน่อไม้ไผ่ตง ซึ่งมีรสหวาน นำไปแกงกับเนื้อไก่ ปลา หรือเนื้อวัว นำไปต้มจืดกระดูกหมู (เมนูนี้นิยมกันมาก) แกงเปรอะ ต้มเป็นผักเคียงใช้จิ้มกับน้ำพริกกะปิ น้ำพริกน้ำปู๋ น้ำพริกแก๋ หรือปรุงอย่างอื่นอีกมากมาย รับประทานอร่อยมาก แต่ไผ่ตงที่พบเห็นและนิยมรับประทานกันเป็นประจำนั้น ส่วนใหญ่แล้ว เปลือกหุ้มหน่ออ่อน หรือ หุ้มหน่อไม้ไผ่ตง จะมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมทั่วทั้งเปลือก ทำให้เวลาจะแกะเปลือกเพื่อเอาเนื้อในไปใช้ ประโยชน์เกิดอาการรำคาญ ผู้ซื้อรับประทานจึงต้องให้ผู้ขายแกะเปลือกให้ แต่ สำหรับ “ไผ่ตงลืมแล้ง” มีลักษณะพิเศษคือ เปลือกหุ้มหน่ออ่อน จะเกลี้ยงไม่มีขนปกคลุมเลย เวลาแกะเอาเนื้อในจึงสะดวกสบายมาก เป็นไผ่ตงที่มีหน่อตลอดปี น้ำท่วมต้นก็ไม่ตายทนแล้งอีกต่างหาก จะแล้งขนาดไหนยังแทงหน่ออ่อนให้เก็บรับประทาน หรือเก็บขายได้ ตลอดปี จึงถูกตั้งชื่อว่า “ไผ่ตงลืมแล้ง” (ปกติฤดูแล้งไผ่ตงจะไม่มีหน่อ) นอก จากนั้น “ไผ่ตงลืมแล้ง” ยังเป็นหน่อไม้ที่มี กรดยูริก ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเกาต์น้อยมาก จึงสามารถรับประทานได้อย่างเต็มที่ และที่สำคัญเนื้อไม้ หรือลำไผ่ของ “ไผ่ตงลืมแล้ง” ยังเป็นไผ่ที่มอดไม่กินอีกด้วย เวลานำไปสร้างบ้านไม้ไผ่ หรือทำเฟอร์นิเจอร์ จึงมีความทนทานได้นานกว่าไม้ไผ่ชนิดใดๆ ไผ่ตงลืมแล้ง เป็นพันธุ์นำเข้าจากประเทศอินโดนีเซียนานกว่า 5 ปีแล้ว อยู่ในวงศ์ GRAMINEAE เป็นไม้ยืนต้นตระกูลหญ้า ต้นสูงได้กว่า 20 เมตร ลำต้นตรง เป็นข้อหรือปล้อง ขนาดของลำต้นใหญ่ เนื้อไม้หนา ยอดอ่อน หรือ หน่ออ่อนมีเปลือกหุ้มสีเขียว ไม่มีขนตามที่กล่าวข้างต้น โผล่เหนือดินเรียกว่า หน่อไม้ ไผ่ตง เนื้อในรสชาติหวานกรอบอร่อยมาก ขนาดของหน่อโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 5-7 กิโลกรัมต่อหัว มีหน่อตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ การปลูก “ไผ่ตงลืมแล้ง” มีลักษณะทนต่อทุกสภาพอากาศ ทนแล้งได้ดี น้ำท่วมไม่ตาย ปลูกได้ในดินทั่วไป และมีหน่อให้เก็บรับประทาน หรือเก็บขายตลอดปี จึงเหมาะที่จะปลูกเป็นพืชครัวและพืชเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง สรรพคุณ ทางสมุนไพรของไผ่ตงทุกชนิด คือ ใบแห้ง ต้มน้ำดื่มขณะอุ่นเป็นยาขับปัสสาวะ ขับและฟอกโลหิตระดูเสียในสตรี แก้มดลูกอักเสบ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ราก ขับปัสสาวะ และ แก้ไตพิการดีมากครับ.



ไผ่ปักกิ่ง (ไผ่จีน)
ประวัติความเป็นมา
เป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศจีน รายละเอียดเชิงวิชาการ ไม่ชัดเจนเพียงศึกษาจากการสังเกตุ การเจริญเติบโต ไผ่จีน ไผ่ปักกิ่ง เรียกชื่อตาม คำบอกเล่าของคนจีนที่นำต้นไผ่เข้าแล้วนำถวายวัดในเขตอำเภอสามชุก จ.สุพรรณบุรี ลักษณะลำต้น ลำต้นสีเหลืองอมเขียว กาบหุ้มลำต้นถี่และหลุดง่าย ส่วนโคนจะมีรากเล็กๆออกมาเป็นระเบียบสวยงาม ไม่ค่อยแตกกิ่ง จะไม่มีหนาม ลำตรงสวยงาม ลำสูงประมาณ 6-10 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 นิ้ว ปล้องห่างประมาณ 8-12 นิ้ว ภายในมีรูเล็กประมาณ เส้นผ่า ศูนย์กลาง 1-2 นิ้ว กลวงตลอดทั้งหน่อ ลักษณะใบ ใบจะใหญ่มากแต่สั้นไม่ยาว โคนใบจะกว้างประมาณ 1.5-2 นิ้ว ไม่แข็งเหมาะสำหรับใช้ในการห่อขนมได้ การปลูก เนื่องจากไผ่ปักกิ่งเป็นไผ่ขนาดใหญ่ ระยะปลูกควรเป็น 5 คูณ 5 เมตร ขุดหลุมให้ได้ขนาด 50 คูณ 50 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตร ไผ่เจริญเติบโตดีมาก โตเร็ว โดยเฉพาะในเมืองไทย อากาศไม่หนาวจัดและให้หน่อดกมากในแต่ละกอรอบก่อไผ่จะให้หน่อประมาณ 8-10 หน่อ ลำไผ่ขึ้นตรงไม่มีหนาม การเกิดหน่อกระจายรอบ ๆ ต้น ห่างประมาณ 4-5 นิ้ว ชอบปุ๋ยคอก การให้น้ำประมาณ 1-2 ปิ๊บ/วัน การตัดหน่อ จะทำการตัดหน่อบริโภค ซึ่งขณะนี้มีจำหน่ายไม่มากนัก ทำการแปรรูป จะนำไปสู่การ ทำหน่อไม้แห้งที่ไม่แข็ง ไม่เหนียว เมื่อจะบริโภคประกอบอาหารก็อ่อนนุ่ม หน่อจะกลวง แต่ความอร่อย ของเนื้อหน่อไม้จะอร่อยกว่า ชิมสด ๆ จะมีขื่นนิดหน่อยเท่านั้น ถ้านำไปต้มหมู แกง หรือหั่นตามยาว ผัดจะอร่อยมาก เนื้อของหน่อจะเป็นเส้นหยาบนิดหน่อย ทำให้เวลาต้มหรือแกงจะดูดซับเข้าเนื้อดี จึงบริโภคอร่อยมาก การใช้ประโยชน์ 1. ลำไผ่จะใช้กับงานเฟอร์นิเจอร์ ได้สวยงามมากเพราะลำไผ่ตรงสีสวย และใช้กับ การก่อสร้าง เช่น โรงเรือนไม้ไผ่ บ้านไม้ไผ่ รั้วไม้ไผ่ และเก้าอี้ไม้ไผ่ 2. ใบมีขนและใหญ่ ไม่เหมาะเป็นอาหารสัตว์ ริมใบจะคม นำมาทำความสะอาดแล้วใช้ห่อขนม เช่น บ๊ะจ่าง ขนมตาล เป็นต้น 3. ซอ หรือโคนไผ่ นำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์สวย โคนไผ่จะให้รูปร่างที่แปลก สวยงาม 4. หน่อไม้ นอกจากบริโภคปกติ แล้วเมื่อมีมากจะทำหน่อไม้แห้งเพราะมีคุณสมบัติ อ่อนนิ่ม สมอย่างยิ่ง ราคาหน่อไม้สดกิโลกรัมละ 50-60 บาท 1 หน่อน้ำหนักประมาณหน่อใหญ่ หนักถึง 5- 7 ก.ก. หน่อเล็กประมาณ 3-4 ก.ก.





ไผ่หม่าจู
ประวัติความเป็นมา
ตามเล่าขาน นำมาจากประเทศจีน เจ้าหน้าที่ดอยอ่างขางไปซื้อมาปลูกที่ดอยอ่างขางตามโครงการฯและได้นำเงินส่วนตัวซื้อมาขยายพันธุ์ ลำต้นจะไม่สูงมาก ประมาณ ๓ เมตร ลักษณะ มีสีเขียวตลอดทั้งลำ แตกกิ่งตั้งแต่โคนต้น จนถึงปลาย ใบจะสั้น หน่อจะมีรถหวาน อร่อยมาก ชอบที่โล่ง ไม่มีร่ม ให้หน่อรอบลำต้น หน่อจะมีสีเขียวสวยงาม สีเขียวเหมือนสีหยกแก่หนักประมาณ ๒ กก. หวานอร่อยดี หอม น่ารับประทาน จะเป็นไผ่ที่ไม่สูงพุ่มสวยงาม ประมาณ ๒ เมตร จะไม่กินพื้นที่ ปลูกเป็นไม้ประดับก็ได้ การให้หน่อจะดก ต้องหมั่นรถน้ำ หน่อจะอยู่ห่างลำต้น เป็นไผ่ที่แปลก อีกอย่างหนึ่งน่ะจะบอกให้ การปลูกก็จะปลูกคล้ายไผ่ปักกิ่ง ใต้หวั่น




ไผ่ทอง
ลักษณะลำต้นเป็นสีเหลืองทอง ใบสีเขียวใบเล็ก ด้านล่างใบเป็นขนนุ่มมือต่างกับไผ่ปักกิ่ง ใช้เป็นไม้ประดับ ให้ความร่มรื่นเป็นไม้มงคล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น